เปิดประวัติชีวิต พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่





พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) และนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน

เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7-8 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หมายเลขประจำตัว 7587

ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อปี พ.ศ.2481 โดยเข้ารับการศึกษาเป็นรุ่นที่ 5 มีเพื่อนร่วมรุ่น 55 นาย

สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2484 ใช้เวลาเพียง 3 ปี ไม่ครบ 5 ปี ตามหลักสูตร เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสขึ้น จึงจำเป็นต้องให้นักเรียนนายร้อยออกรับราชการก่อนกำหนด

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการเป็นผู้บังคับหมวด ประจำกรมรถรบ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2484 ปฏิบัติหน้าที่ ณ สมรภูมิรบปอยเปต ประเทศเขมร ในกรณีพิพาทในอินโดจีนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นว่าที่ร้อยตรี (รับกระบี่ในสนามรบ) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2484

พ.ศ. 2485 – 2488 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงได้รับคำสั่งให้ไปประจำการเป็นกองหนุนของกองทัพพายัพ จังหวัดลำปาง ต่อมากองทัพเคลื่อนย้ายไปอยู่เชียงราย และได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นอยู่กับกองพล.3 ที่เชียงตุง จนได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก และเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ลพบุรี

พ.ศ. 2489 – 2492 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ ได้เข้าศึกษาเป็นนายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนนายทหารม้า เมื่อจบการศึกษาได้กลับมารับตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยเดิม และรักษาราชการผู้บังคับกองพันที่ 1 กรมรถรบ

1 กรกฎาคม 2492 ได้รับพระราชทานยศ “พันตรี”

พ.ศ. 2493 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดอุตรดิตถ์ รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 4 และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์อีกตำแหน่งหนึ่ง

30 มกราคม 2497 ได้รับพระราชทานยศ “พันโท”

พ.ศ. 2497 – 2498 เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2 และเป็นอาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ

1 มกราคม 2499 ได้รับพระราชทานยศ “พันเอก”

พ.ศ. 2501 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า

พ.ศ. 2506 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และเป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบก สระบุรี

พ.ศ. 2509 – 2510 เข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9 (ยศพันเอก) เดินทางไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี

1 ตุลาคม 2511 ได้รับพระราชทานยศ “พลตรี” และให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า” และ “ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี” พ.ศ. 2512 เป็นองครักษ์เวร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

1 ตุลาคม 2516 เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 จังหวัดสกลนคร

1 ตุลาคม 2517 ได้รับพระราชทานยศ “พลโท” และดำรงตำแหน่ง “แม่ทัพภาคที่ 2” พ.ศ. 2518 เป็นราชองครักษ์พิเศษ

1 ตุลาคม 2520 ได้รับพระราชทานยศ “พลเอก” และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไปฝ่ายทหาร

พ.ศ. 2521 เป็นผู้บัญชาการทหารบก จนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2523 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติต่ออายุราชการอีก 1 ปี 26 สิงหาคม 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้อำลาการรับราชการทหาร

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 16 ของประเทศไทย

ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการทางการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นวุฒิสมาชิก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2511

เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2515 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2520 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22พฤษภาคม 2522

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 3 มีนาคม 2523 จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2531 รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง มีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 5 ชุด รวมเวลาทั้งสิ้น 8 ปี 5 เดือน

หลังจากการปฏิเสธการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่อง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึง วันที่ 13 ตุลาคม 2559

จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2559 และดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2559 ถึงปัจจุบัน

และในวันที่ 26 พ.ค. จะถึงแก่อสัญกรรม  อย่างสงบ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวัย 99 ปี

ข้อมูลจาก : ข่าวสดออนไลน์, โคตรทหาร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: