กรมศุลกากร เตรียมอำนวยความสะดวก ยุคการค้าออนไลน์ สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ สามารถชำระภาษีได้จากที่บ้าน
(27ส.ค.62)นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากรเปิดเผยว่า กรมศุลกากร ร่วมกับไปรษณีย์ไทย กำลังพัฒนาระบบชำระภาษีพัสดุสินค้าได้จากที่บ้าน ผ่านระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สาขาหน่วยรับจ่ายต่างๆ โดยไม่ต้องเดินทาง เพื่อไปชำระภาษีอากรและรับสินค้าที่ไปรษณีไทย เมื่อชำระเสร็จระบบจะส่งพัสดุมาให้ที่บ้านทันที ซึ่งคาดว่าระบบนี้จะสามารถใช้ได้ช่วงไตรมาสแรกปีหน้า
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2562 ช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณ 2562 จัดเก็บรายได้ 98,138 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ 108,000 ล้านบาท แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก แต่การนำเข้ารถยนต์ที่เพิ่มขึ้นยังทำให้การจัดเก็บงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนปีหน้าตั้งเป้ารายได้ไว้ที110,000 ล้านบาท
ล่าสุด กรมศุลกากร ลงนามความร่วมมือกับธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ รับชำระเงินภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ Bill Payment โดยผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก สามารถใช้ใบขนสินค้าที่มี QR Code /บาร์โค้ด หรือ เลขที่อ้างอิง ไปชำระผ่านช่องทางการให้บริการของธนาคารได้หลายช่องทาง อาทิ Internet Banking /Mobile Banking เคาน์เตอร์ธนาคาร /ATM รวมทั้ง การชำระผ่านตัวแทนรับชำระ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินได้เองที่สถานประกอบการ ผ่านระบบการติดตามสถานะการผ่านพิธีการศุลกากร หรือ e-Trackingโดยไม่ต้องมารับใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากร ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 134 บาทต่อ1ใบขนสินค้า หรือ ปีละ 286 ล้านบาท
การลงนามครั้งนี้เป็นการอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม จากเดิมที่ผู้ประกอบการ สามารถชำระภาษีผ่าน 4 ธนาคาร 1 ตัวแทนรับชำระ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย/กสิกรไทย/กรุงเทพฯ/ไทยพาณิชย์และ 7-eleven และจากสถิติการใช้ระบบ Bill payment ในรอบ 6เดือนที่ผ่านมามีผู้ประกอบการพิมพ์ใบเสร็จรับเงินด้วยตนเองเป็นจำนวนกว่า 1,373,900ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 99.91 ของจำนวนใบเสร็จรับเงินที่ชำระด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เชื่อว่าภายใน 2 ปี จะเปลี่ยนกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานไร้เงินสดได้ 100%
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ