เงินทองไม่เข้าใครออกใคร บางคนจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อให้มีสภาพคล่องมากขึ้น แต่บางคนก็จนปัญญา กู้ยืมก็แล้วสภาพการเงินยังไม่คล่อง หนำซ้ำหนี้พอกพูนกว่าเดิมเพราะหามาชดใช้ไม่ได้
27 ก.ย.62 สาวคนหนึ่ง ล็อกอิน สมาชิกหมายเลข 3984966 ตั้งกระทู้ถามถึงหนี้เกือบ 2 ล้านจะสามารถผ่อนได้ภายใน 30 ปี โดยปล่อยให้ฟ้องล้มละลายได้หรือไม่? ซึ่งดูเผิน ๆ อาจเป็นกระทู้ขอคำปรึกษาทั่วไป แต่สุดท้ายโดนหลายคอมเม้นท์ตอบโต้ในทำนองว่า “สงสารเจ้าหนี้” เพราะเธอมี 1 ในเหตุผลที่ถามก็คือ “ต้องการออกรถใหม่” แต่บางความคิดเห็นก็คิดว่าธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ก็มีส่วนผิดด้วย
หนี้ 1,980,000 ผ่อน30ปี “ถ้าปล่อยให้เขาฟ้องล้มละลาย” หนี้ที่มีจะหมดไปมั้ยคะ ?
อยากทราบว่า หลังจากธนาคารฟ้องล้มละลายเราแล้ว หนี้ 1.9 ล้าน จะหมดมั้ยคะ
และหลังจากล้มละลายแล้ว…คดีสิ้นสุดแล้ว… เราสามารถที่จะ
1.เปิดบัญชีได้ไหม
2.ทำธุรกรรมทางการเงินได้ไหม
3.ออกรถใหม่ได้ไหม
ความคิดเห็นที่ 2-1
ระบบการเงิน ที่ spoil ปล่อยเครดิตกันง่ายเกิ้น
สร้างความเสียหายให้กับชีวิตมนุษย์มากมาย
เราอยากให้มีกฏหมาย
กำหนดว่าให้ศาลยกฟ้อง
พวก หนี้สินที่เจ้าหนี้ปล่อยให้แก่ลูกหนี้
ที่มีหนี้เกินรายได้ประจำ ไปเลยด้วยซ้ำ
อาทิเช่น
คนมีรายได้ ปีละ 100,000 บาท
ถ้ามีวงเงินบัตรเครดิตกับธนาราร A ไปแล้ว 100,000 บาทในเครดิตบูโร
แล้วธนาคาร B ยังจะอนุมัติวงเงินให้อีก
ก็ให้กฏหมายกำหนดว่ายกฟ้อง หนี้ ของ B ไปเลย
ธนาคารจะได้เลิก spoil ผู้บริโภค
ความคิดเห็นที่ 2-5
ถ้าลูกหนี้มีประวัติไม่ดี ฐานะการเงินไม่ดี รายได้ไม่มั่นคง ธนาคารก็ไม่เคยปล่อยสินเชื่อให้นะครับ ที่ธนาคารให้สินเชื่อให้เครดิตเพราะฐานะการเงินของผู้กู้ในขณะนั้น เรื่องอนาคตไม่มีใครคาดการณ์ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้ก็ควรวางแผนการเงินให้ดี ไม่ใช่คิดแต่เฉพาะเวลานั้น รูดบัตรเครดิตบางทีมีแต่วงเงิน แต่เงินที่เตรียมไว้จ่ายจริงเวลามีใบเรียกเก็บยังไม่มี หนี้สินที่เกิดขึ้นผู้ใช้ยังไงก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ธนาคารให้วงเงินเครดิตตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร ผู้ใช้ที่วางแผนก็จะได้ประโยชน์ ผู้ใช้ที่มุ่งสร้างหนี้ก็ต้องรับผิดชอบหนี้ที่ตัวเองสร้าง
ความคิดเห็นที่ 3
มีหนี้ก็ต้องใช้ครับ คิดถึงตอนเราไปยืมเงินหรือไปกู้เงิน ว่าเราต้องการเองเงินไปทำอะไร ถึงเวลาใช้ก็ต้องใช้ครับ ไม่ควรหนี ยังไงทำสัญญาผ่อน 10 ปีก็ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ความคิดเห็นที่ 6
เคยถูกฟ้องไล่เบี้ยมูลหนี้ 130 ล้านบาทเป็นลูกหนี้ร่วม ไม่ได้เป็นลูกหนี้สถาบันการเงินโดยตรงเกิดจากประมาทเลินเล่อ
โดยนายจ้างเก่านำเช็คค้ำประกันค่าสินค้าไปขายลดเช็คกับธนาคาร ทำสัญญาขายลดเช็คโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
และเช็คค้ำประกันไม่มีมูลหนี้ต่อกัน เนื่องจากไม่มีการส่งมอบสินค้า แต่ธนาคารมีเอกสารเช็คหรือตั๋วเงินและเอกสารใบส่งของ นายจ้างเก่าทำขึ้นมาเอง
เมื่อต้องพิพากษาให้ล้มละลายก็ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่สามารถรับเงินหรือทรัพย์สินใดๆ จขกท.มีภาระหนี้ 1.9
ล้านบาท ธนาคารเขาคงยังไม่ฟ้องล้มละลาย ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายก็ต่อเมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัวมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน และหนี้สินของลูกหนี้บุคคลต้องมีมูลหนี้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท สำหรับนิติบุคล2 ล้านบาท และมีหนังสือทวงถาม 3 ครั้งติดต่อกัน
ส่วนใหญ่ลูกหนี้ถูกฟ้องโดยศาลแพ่งก่อน ลูกหนี้หรือจำเลยถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลแพ่งมีอายุความ 10 ปี พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ลูกหนี้บางรายมีหนี้เงินต้นไม่ถึง 1 ล้านบาท พอรวมดอกเบี้ยอายุความ 10 ปี ส่วนใหญ่ ก็มีหนี้เกิน 1 ล้านบาท เข้าเกณฑ์ถูกฟ้องล้มละลาย
เมื่อเจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษา ถ้าลูกหนี้มีหนี้เกิน 1 ล้านบาท เจ้าหนี้จึงฟ้องลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลาย หลังจากเมื่อถูกศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ไม่สามารถทำธุรกกรรมการเงินใดๆได้ แต่จพท.ให้ลูกหนี้มีเงินพอยังชีพได้เดือนละ 1 หมื่นบาท รายงานบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน
ให้จพท.ทราบทุก 6 เดือน พอครบกำหนด 3 ปี โดยไม่มีการทุจริต ไม่โกงเจ้าหนี้หรือโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สิน ก็พ้นจากบุคลล้มละลายสามารถทำธุรกรรมการเงินได้ปกติ หลังจากพ้น 3 ปี ไปขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก็ยังไม่มีใครปล่อยกู้ให้ นอกจากกลุ่มนอนแบงค์ และยังติดเครดิตบูโรไปอีกประมาณ 2 ปี ถึงจะปลดออกจากบูโรได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 16
ผมว่าคนคงอยากให้คำตอบที่แนะนำเยอะนะ
แต่นี้อะไร จะปล่อยล้มละลาย แล้วถามหาวิธีการสร้างหนี้ใหม่อีก
ไม่คิดที่จะปรับปรุงตัวบ้างเลยเหรอครับ
คำว่า คดีสิ้นสุด ของคุณคงกำลังหมายถึงหลังมีการตัดสินแล้วว่าคุณเป็นบุคคลล้มละลายใช่ไหมครับ ถ้าใช่ คดีสิ้นสุด = สถานะบุคคลล้มละลายเพิ่งเริ่ม ครับ
ทำธุรกรรมทางการเงินไม่ได้, ดำรงตำแหน่งในองค์กรไม่ได้, ไปต่างประเทศด้วยตนเองไม่ได้
สภาวะล้มละลาย ขั้นต่ำ 3 ปี แต่อาจยาวไปถึง 10 ปี (ไม่ขอลงรายละเอียดว่าทำไม)
หลังพ้นสภาวะแล้ว หนี้หมด ยกเว้นหนี้ภาษีและหนี้ทุจริตฉ้อโกง