ฮ่องกงผวาหมูจีน ไทยส้มหล่น ยอดส่งออกเพิ่ม2,000%





สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ ฮ่องกง รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลของหนังสือพิมพ์ South China Morning Post ว่า จากที่ฮ่องกงประสบปัญหาการขาดแคลนเนื้อหมู เนื่องจากการตรวจพบโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ในจีนแผ่นดินใหญ่ และระงับการขนส่งสุกรมีชีวิตนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งทางฮ่องกง พยายามแก้ปัญหา โดยหาแหล่งนำเข้าสินค้าจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการส่งออกจากไทย ซึ่งพบว่าในเดือนสิงหาคม 2562 การส่งออกเนื้อหมูของไทยไปฮ่องกงเพิ่มขึ้น 40% (ตามข้อมูลจากสมาคมผู้เลี้ยง สุกรแห่งประเทศไทย) ขณะที่สถิติจาก World Trade Atlas เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนในปี 2562 จะเห็นว่า ในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 241% และก้าวกระโดดเป็น 418% ในเดือนตุลาคม ทั้งนี้ภาพรวมการนำเข้าของปี 2562 (ม.ค. –พ.ย.) ฮ่องกงนำเข้าประเภทหมูสด/แช่เย็น จากไทย มูลค่า 8.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 1,945% จาก ปี 2561

จากการสำรวจตลาดของ สคต. ฮ่องกง พบว่ามีการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นในห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตระดับกลางและสูง ได้แก่  Park N Shop, Wellcome และ V.C. Meat Processing Ltd. (ซึ่งบริษัทนี้ได้ผลการเจรจาสั่งซื้อสินค้าโดยการแนะนำ ผ่าน สคต. ฮ่องกง ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2562) นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าจากผู้ส่งออกไทยรายใหญ่ อาทิ เบทาโกร และ ซีพี ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเนื้อหมูไทยเป็นอย่างมาก

การนำเข้าหมูมีชีวิตโดยหน่วยงาน The Food & Health Bureau มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด และร่วมมือกับหน่วยงาน Customs and Excise Department เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อหมูที่เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรเข้าไปยังฮ่องกง

จากสถิติหลายปีที่ผ่านมาฮ่องกงบริโภคหมูจำนวน 1.5 ล้านตัว และนำเข้าหมูมีชีวิตจากจีนแผ่นดินใหญ่ ประมาณ 4,000 ตัวต่อวัน แต่ปัจจุบันฮ่องกงนำเข้าจากจีนลดลงคงเหลือจำนวน 1,324 ตัวต่อวัน (ล่าสุด 9 ธ.ค. 62) ผลจากการขาดแคลนหมูสดทำให้ราคาสูงขึ้นจากเดิม 75.7 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อกิโลกรัม (ม.ค. 62) เป็น 159 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อกิโลกรัม (ธ.ค. 62)

 ปกติชาวฮ่องกงนิยมบริโภคเนื้อหมู/เนื้อวัวเฉลี่ย 0.66 กิโลกรัมต่อวัน โดยการปรุงต้มน้ำซุปเป็นส่วนใหญ่ และนิยมซื้อหมูสดจากพ่อค้าแผงในตลาดสด จากผลกระทบด้านราคาที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัวทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อเนื้อ หมูแช่เย็น/แช่แข็งในห้างซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าที่ขายของชำ ที่ขายเนื้อสัตว์นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ไทย อเมริกา ออสเตรเลีย และมาเลเซีย โดยความเชื่อถือเรื่องความปลอดภัย/คุณภาพที่ไม่พบโรคอหิวาต์ฯ

ข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: