นายแอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อสหรัฐ และแคทเทอรีน เพาลุส ผู้ช่วยศาสตราจารย์แผนกโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ระบุในบทความที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์จามาว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์ส ปี 2546 ส่งผลให้การพัฒนาวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ นักวิจัยใช้ข้อมูลจากการถอดลำดับจีโนมของไวรัสซาร์ส มาเป็นประโยชน์สำหรับการทดสอบวัคซีนดีเอ็นเอระยะที่ 1 ภายใน 20 เดือน และย่นระยะเวลาจนเหลือ 3.25 เดือน สำหรับโรคไวรัสอื่นๆ
อย่างไรก็ดี นักวิจัยหวังว่าพวกเขาจะสามารถรับมือกับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้เร็วยิ่งขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) หรือ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (messenger RNA)
แอนจิโอเทนซิน – คอนเวอร์ติงเอนไซม์ 2 (ACE2) เป็นตัวรับเด่นสำหรับไกลโคโปรตีนที่มีโรคซาร์สในมนุษย์ การวิเคราะห์เบื้องต้นบ่งชี้ว่าไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกรดอะมิโนในไวรัสซาร์ส และอาจใช้แอนจิโอเทนซิน – คอนเวอร์ติงเอนไซม์ 2 เป็นตัวรับ
นักวิจัยเผยว่าสิ่งนี้อาจมีนัยสำคัญต่อการคาดการณ์การแพร่ระบาดของโรคในอนาคต ซึ่งก่อนหน้านี้ การแพร่ระบาดของโรคในมนุษย์ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสถูกมองว่าไม่ใช่เรื่องที่จะส่งผลร้ายแรง สำหรับโรคติดเชื้อเกิดใหม่ และไม่ได้เป็นวาระสำคัญที่ต้องเตรียมการพร้อมรับมืออย่างสม่ำเสมอ
ขณะนี้สถาบันการแพทย์สหรัฐและจีน กำลังดำเนินงานร่วมกันเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้านไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งส่งผลให้มีผู้ป่วยที่ยืนยันผลว่าเป็นโรคปอดอักเสบในจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ