เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บานฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ระยะทางรวม 32 กิโลมตรว่า ปัจจุบันงานก่อสร้างแบ่งเป็น 13 ตอนและงานระบบ 1 ตอน โดยงานก่อสร้างมีความคืบหน้า97.85 %(ข้อมูล ณ เดือนมกราคม) ส่วนงานระบบจะมีการก่อสร้างเชื่อมโยงระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ระบบควบคุมการจราจร และระบบอำนวยความปลอดภัย โดยมีอาคารเก็บค่าธรรมเนียม 3 แห่ง
คือ ด่านๆห้วยใหญ่ บริเวณกิโลเมตรที่ 15+300 ด่านฯ เขาซีโอน บริเวณกิโลมตรที่ 26+375 และด่านฯ อู่ตะเภา บริเวณกิโลมตรที่ 30+250 คืบหน้า 60.32 %(ข้อมูล ณ เดือนมกราคม) คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในเดือนกรกฎาคม 2563
สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด เป็นงานก่อสร้างถนนแนวใหม่ มีจุดเริ่มต้นก่อสร้างเชื่อมกับทางหลวงพิศษหมายเลข 7 บริเวณทางแยกต่างระดับมาบประชัน ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จะไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 3 บริเวณอำเภอบ้านฉางจังหวัดระยอง สำหรับอัตราค่าผ่านทางจะแบ่งตามประเภทรถดังนี้ สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ อัตรา 10-130 บาท ,รถยนต์ 6 ล้อ อัตรา 15-210 บาท และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป อัตรา 20 – 305 บาท
นายสราวุธกล่าวว่า ในส่วนของทางเข้า – ออก ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – บ้านฉาง ช่วงพัทยามาบตาพุด จะช่วยใหประชาชนเดินทางได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยหากใช้เส้นทางด่านฯห้วยใหญ่ จะเชื่อมต่อไปยังถนนสุขุมวิท สามารถเดินทางไปยังหาดจอมเทียน ตลาดน้ำสี่ภาค แต่หากใช้เส้นทางด่านฯ เขาชีโอน จะเชื่อมต่อไปยังทางหลวงหมายเลข 331 ไปยังสถานที่สำคัญ อย่างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค
หากใช้ส้นทางผ่านด่านฯ อู่ตะเภา จะเชื่อมต่อไปยังถนนสุขุมวิท มุ่งหนไปอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และอำเคอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้เส้นทางดังกล่าวกรมทางหลวงได้ควบคุมการก่อสร้างให้มีมาตรฐานที่สูง สำหรับผิวทางแอสฟัลท์คอนกรีต สภาพความเรียบของผิวทางต้องมีค่าดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index: IR) ไม่เกิน 2.0 เมตร/กิโลเมตร สำหรับผิวทางคอนกรีต สภาพความเรียบของผิวทางต้องมีค่า ดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index:IR) ไม่เกิน 2.5 เมตร/กิโลเมตร
อย่างไรก็ตามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยามาบตาพุด นับเป็นเส้นทางที่สายหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทั้งในภาคธุรกิจและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ