โควิดกระทบหนัก สหภาพแรงงานฯการบินไทยพร้อมพันธมิตร ร่วมแถลง “ขออย่าลอยแพพนักงาน”





วันที่ 30 มี.ค. นายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทำงานสนามบิน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และ คณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมการออกแถลงการณ์เรื่อง ความห่วงใยต่อเพื่อนพี่น้องแรงงานในอุตสาหกรรมการบินภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 (Covid-19) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินของประเทศไทยอย่างหนัก บริษัทสายการบินราคาประหยัดหลายบริษัทออกประกาศลด/หยุดบินชั่วคราว และล่าสุด บมจ.การบินไทย ได้ประกาศหยุดบินชั่วคราว ทั้งเส้นทางในภูมิภาค ยุโรปและออสเตรเลียจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ส่งผลกระทบอย่างยิ่งการจ้างแรงงานที่เป็นพนักงานประจาของ บมจ.การบินไทยจานวน 20,000 คน และแรงงาน Outsource ของบริษัทวิงสแปน 4,900 คน ที่ส่งแรงงานไปปฏิบัติให้กับ บมจ.การบินไทย

ทั้งนี้พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทางานสนามบิน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มีความกังวลไม่ต้องการให้มีการซ้ำเติมของแรงงาน ด้วยการออกมาตรการความอยู่รอดของนายจ้าง เช่น การเลิกจ้าง เนื่องจากในอดีตแรงงานก็มีส่วนในความสาเร็จของบริษัท เมื่อเกิดวิกฤตในครั้งนี้ จึงขอเรียกร้องให้นายจ้างและรัฐบาลช่วยดูแลแรงงานเหล่านี้ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน

ดังนั้น พันธมิตรสหภาพแรงงานคนทางานสนามบิน สรส. และ ครสท. จึงขอเรียกร้องให้ รัฐบาลและนายจ้างทุกองค์กรในอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย รวมทั้ง บมจ.การบินไทย และบริษัทวิงสแปน ปฏิบัติต่อลูกจ้างและพนักงาน ให้เป็นไปตามาตรฐานแรงงานในระดับสากล และหลักมนุษยชน โดยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

1. ขอให้นายจ้างจัดให้มีเวทีปรึกษาหารือร่วมกับสหภาพแรงงาน เพื่อร่วมกำหนดนโยบายความอยู่รอดของบริษัท หากนโยบายดังกล่าวกระทบต่อสภาพการจ้างของลูกจ้าง/พนักงานของบริษัท ขอให้พิจารณากำหนดนโยบาย บนหลักการกฎหมายแรงงาน มาตรฐานแรงงานในระดับสากลและหลักมนุษยชน เพื่อให้ลูกจ้าง/พนักงานได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

2. ขอให้นายจ้างที่มีการประกาศหยุดงานชั่วคราว กำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อเรียกลูกจ้าง/พนักงานกลับเข้าทางานตามเดิม ภายหลังสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น เพื่อป้องกันการบังคับใช้มาตรการที่นำไปสู่การเลิกจ้าง หรือลอยแพคนงาน อย่างไม่เป็นธรรม จากวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้

3. ขอให้นายจ้าง โดยเฉพาะ บริษัท Outsource หรือบริษัทที่รับเหมาช่วงเหมาค่าแรงทุกบริษัทในกิจการการบิน ดูแลลูกจ้างของบริษัท ซึ่งมีลักษณะงานไม่มั่นคง(Precarious work) ด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องไม่ข่มขู่ กดดัน หรือบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกจากงาน เพื่อเจตนาหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้าง โดยอาศัยสถานการณ์โรคระบาดนี้ ในการละเมิดสิทธิแรงงานและปฏิบัติต่อคนงานแบบไร้มนุษยธรรม

4. ขอให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันที่เพียงพอให้กับลูกจ้าง/พนักงานที่ยังคงปฏิบัติงานที่สนามบินในการบริการแก่ผู้โดยสาร มีความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจจะได้รับไวรัสจากการปฏิบัติงาน

ข่าวจาก ข่าวสดออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: