เมื่อวันที่ 10 เมษายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ กฎกระทรวงการอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ พ.ศ.2563 มีเนื้อหาสรุปว่า อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 5 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ(ฉบับที่2) พ.ศ.2562 และมาตรา 51 วรรคสี่มาตรา 52 และมาตรา 53 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติพ.ศ.2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมออกกฎกระทรวง ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ในกฎกระทรวงนี้“พื้นที่กีดกัน”หมายความว่าพื้นที่ของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงให้เห็นว่าในกรณีเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณขอบของพื้นที่กีดกันจะต้องได้รับปริมาณรังสีทั่วร่างกายไม่เกิน 250 มิลลิซีเวิร์ตหรือปริมาณรังสีที่ต่อมไทรอยด์ไม่เกิน 3,000 มิลลิซีเวิร์ตจากการรับสารไอโอดีนภายในเวลาสองชั่วโมง
“พื้นที่ระวังเหตุ”หมายความว่าพื้นที่โดยรอบพื้นที่กีดกันซึ่งผู้ขอรับใบอนุญาตสามารถจัดการให้ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นซักซ้อมและปฏิบัติตามวิธีการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีและต้องแสดงให้เห็นว่าในกรณีเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณขอบของพื้นที่นี้จะต้องได้รับปริมาณรังสีทั่วร่างกายไม่เกิน 250 มิลลิซีเวิร์ตหรือปริมาณรังสีที่ต่อมไทรอยด์ไม่เกิน 3,000 มิลลิซีเวิร์ตจากการรับสารไอโอดีนภายในสามสิบวัน
“พื้นที่ห่างจากชุมชน”หมายความว่าพื้นที่จากจุดศูนย์กลางที่ตั้งสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่มีรัศมีไม่น้อยกว่า๑.๓เท่าของรัศมีของพื้นที่ระวังเหตุและต้องมีประชากรหนาแน่นไม่เกิน 500 คน ต่อตารางกิโลเมตรทั้งนี้ไม่รวมถึงพื้นที่ในส่วนที่เป็นพื้นที่กีดกันและพื้นที่ระวังเหตุ“เหตุการณ์ภายนอก”หมายความว่าเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และไม่ได้เกิดจากการดำเนินการหรือกิจกรรมภายในสถานประกอบการทางนิวเคลียร์
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ