เมื่อวันที่ 10 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กชื่อ “พรรคการเมืองดี การเมืองดี บ้านเมืองดี สร้างการเมืองที่ดีด้วยพลเมือง” ของสำนักกิจการพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อความ มีเนื้อหา ระบุว่า ส.ส.หรือพรรคการเมืองช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยพิบัติได้จำนวนเท่าไหร่ และทางกฎหมายมีผลเป็นอย่างไร โดย 1.จำนวนเงินที่ช่วยเหลือได้ 1.1 พรรคการเมืองช่วยเหลือได้ในแต่ละโอกาสไม่เกิน 3,000,000 บาท (3 ล้านบาท) 1.2 ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองช่วยเหลือในแต่ละโอกาสได้ไม่เกิน 300,000 บาท (3 แสนบาท) 2.ผลทางกฎหมาย การช่วยเหลือเกินกว่าจำนวนตามที่กำหนดใว้ใน ข้อ 1 ให้นำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไป
3.หลักเกณฑ์ในการนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป มีดังนี้ 3.1 จำนวนเงินที่นำไปรวม ถ้าให้เงินช่วยเหลือไม่เกิน 3 ล้านบาท หรือไม่เกิน 3 แสนบาท ตามข้อ 1 แล้วแต่กรณี ไม่ต้องนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายเลย แต่ถ้าให้เงินเกิน 3 ล้านบาท กรณีเป็นพรรคการเมือง เช่น ให้ เงินช่วยเหลือ 3,500,000 บาท หรือ กรณี เป็น ส.ส. ให้เงินช่วยเหลือ 350,000 บาท ต้องนำเงินทั้งจำนวนที่ให้เกินไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย (กฎหมายไม่ได้ให้ใช้ส่วนที่เกิน) คือ ต้องนำเงิน 3,500,000 บาท หรือ 350,000 บาท ไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย แล้วแต่กรณี
ส่วนพรรคการเมืองหรือ ส.ส.จะให้เกินเป็นจำนวนเท่าใด ให้คำนึงถึงจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมาเป็นแนวทาง แต่ ส.ส.แบบแบ่งเขต มีเงื่อนไขที่ต้องคำนึงเพิ่มเติม คือ เป็นการให้ความช่วยเหลือในเขตเลือกตั้งของตน หรือนอกเขตเลือกตั้งของตน เพราะจะมีผลทางกฎหมายต่างกันการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พรรคการเมืองใช้จ่ายได้ไม่เกินพรรคละ 35,000,000 บาท แบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่เกิน คนละ 1,500,000 บาท)
3.2 เกณฑ์ในการนำไปรวม(1) พรรคการเมืองให้ความช่วยเหลือ “ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง”(2) ผู้ดำรงตำ แหน่งในพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ความช่วยเหลือ “ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง” (3) ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ความช่วยเหลือ”ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง” (4) ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ความช่วยเหลือ “นอกเขตเลือกตั้ง” ของตน “ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง”
(5) ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ความช่วยเหลือ “ในเขตเลือกตั้ง” ของตน “ให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของ ส.ส.
ผู้นั้น” ในการไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
รายละเอียดการให้ความช่วยเหลือพรรคการเมืองสามารถศึกษาจาก พ.ร.ป.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และ ระเบียบ กกต.ว่าด้วยจำนวนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของการให้ตามประเพณีหรือเมื่อมีเหตุอันสมควร และการยื่นคัดค้านเกี่ยวกับการบันทึกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป พ.ศ. 2561
ทั้งนี้ เมื่อถึงการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปพรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะได้รายงานค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่เกินวงเงินค่าใช้จ่ายตามที่กกต.กำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดช่วงเวลานี้มีกระแสออกมาเรียกร้องให้พรรคการเมืองและส.ส. บริจาคเงินเดือนเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ