เมื่อวันที่ 10 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามใน ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 3) ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้ว นั้น เพื่อเป็นการกำหนดข้อยกเว้นในการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ) ให้ชัดเจนขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกรัฐมนตรี
จึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในการบังคับใช้ข้อ 1 แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2563 ให้ยกเลิกความในส่วนที่เป็นข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามเวลาดังกล่าว และให้ใช้ข้อยกเว้นดังต่อไปนี้แทน
(1) การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนซึ่งอยู่ ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
(2) การสาธารณสุข ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์และผู้ดูแลบุคคล ดังกล่าว หรือแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงาน
(3) การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ หรือสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก
(4) การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งหรือขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศของทางราชการหรือของตนเองเพื่อการเฝ้าระวังหรือกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือ
ผู้เดินทางมาจากหรือไปยังห่อากาศยานหรือสถานที่ขนส่งตามที่ทางราชการอนุญาตและให้เปิด
ทำการได้
(5) การบริการหรือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ได้แก่ ผู้บริการคนไร้ที่พึ่ง
ผู้บริการเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้บริการส่งสินค้าหรืออาหารตามสั่ง ผู้บริการ ตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงไฟฟ้า ประปา ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าชธรรมชาติ ผู้บริการ จัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย ผู้บริการซ่อมแชมและปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสาร โทรคมนาคม ผู้บริการด้านธนาคาร ตลาดทุน ประกันภัย การกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ผู้จำเป็นต้องตำเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือจำเป็นต้องติดต่อราชการกับกำพัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง หรือพนักงานสอบสวน
(6) การประกอบอาชีพซึ่งจำเป็นต้องกระทำภายในช่วงเวลาพิเศษ ได้แก่ ผู้เข้า ออกเวรยาม กะ หรือการทำงานตามผลัดเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติของทางราชการ เอกชน โรงงาน หรือ การดูแลรักษาความปลอดภัย ผู้ประกอบอาชีพประมง การกรีดยาง การตรวจรักษาสัตว์
(7) เหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะรายจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีตาม (1) ถึง (6) ให้บุคคลที่มีความจำเป็นดังกล่าวแสดงบัตรประจำตัว ประชาชนหรือบัตรแสดงตุนอย่างอื่น และเอกสารรับรองความจำเป็น เอกสารเกี่ยวกับสินค้า บริการ การเดินทางหรือหลักฐานอื่น ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการ กำหนดรวมถึงการยอมรับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับกรณีตาม (7) ให้แสดงเหตุจำเป็นพร้อมทั้ง
หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุญาต
ข้อ 2ในกรณีมีความจำเป็นสมควรยกเว้นความในข้อ 1 เพิ่มเติมเป็นการทั่วไป ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่ง ยกเว้นผู้ประกอบกิจการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันภายในกรอบของกิจการตามข้อ 1 (1) ถึง (6) เพิ่มเติม โดยอาจกำหนดสถานที่ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาด้วยก็ได้
ข้อ ๓ ในกรณีมีการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น ความผิดต่อทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการพนัน กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และเป็นความผิดตามข้อกำหนดออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ด้วย ให้ดำเนินคดี ต่อผู้กระทำความผิดทุกฐานความผิดนั้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พศ. 2563 เป็นตันไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2563 เป็นต้นไป
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ