เผย “บิ๊กติ๊ก” ไม่ได้เป็นแค่ กมธ. ท่องเที่ยว พบนั่งเก้าอี้ “กมธ. สาธารณสุข” อีก “เป็นไปตามข้อบังคับ ส.ว.”





วันนี้ (17 เมษายน) จากกรณีที่เมื่อวานนี้ ( 16 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศวุฒิสภาแต่งตั้งให้ พล.อ. ปรีชา จันทร์โอชา เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว แทนตําแหน่งที่ว่าง ประกาศให้ทราบทั่วกัน ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ความหมายของราชกิจจาฯ ฉบับดังกล่าวก็คือ การประกาศต่อสาธารณชนให้การดำรงตำแหน่งดังกล่าวของ พล.อ. ปรีชา ได้รับทราบเป็นการทั่วไป

ที่สำคัญประกาศดังกล่าวมีผลย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์แล้ว ซึ่งแปลความได้อีกว่า พล.อ. ปรีชา ได้ทำหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการท่องเที่ยวมาเป็นเวลาเกือบสองเดือนแล้ว

สำหรับกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มี พล.อ. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และมี พล.อ. ปรีชา ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ มีภารกิจและอำนาจในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เก่ียวกับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว การสร้างความหลากหลาย และคุณภาพด้านการท่องเที่ยว รวมท้ังศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่อยู่ในหน้าท่ีและอำนาจ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบในเว็บไซต์ของวุฒิสภา พบว่า พล.อ. ปรีชา ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการอีกคณะหนึ่ง คือกรรมาธิการการสาธารณสุข ในตำแหน่งที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่เป็น ส.ว. ใหม่ๆ ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ที่ให้ ส.ว. สามารถดำรงตำแหน่งกรรมาธิการได้ไม่เกินคนละสองคณะ

สำหรับกรรมาธิการการสาธารณสุข มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เก่ียวกับการสาธารณสุข การพัฒนาระบบสุขภาพ การบริการสาธารณสุข ท่ีเหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยรวมถึงการรักษาพยาบาล การควบคุมและป้องกันโรค การฟื้นฟู การส่งเสริมสุขภาวะและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงปัญหาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร และการพัฒนา พิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มี นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นประธานกรรมาธิการ

สำหรับค่าตอบแทนของ ส.ว. นอกจากเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มรายเดือน รวมประมาณ 1 แสนกว่าบาทแล้ว ส่วนหนึ่งยังได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมกรรมาธิการอีกครั้งละ 1,500 บาท หาก 1 เดือนกำหนดให้มีการประชุมสัปดาห์ละครั้ง และมาประชุมครบทุกครั้ง ส.ว. 1 คน จะได้รับเบี้ยประชุมต่อคณะเดือนละ 6,000 บาท และเมื่อเป็นกรรมาธิการสองคณะ ก็จะได้รับเบี้ยประชุมเป็นเดือนละ 12,000 บาทนั่นเอง

สำหรับ พล.อ. ปรีชา ตกเป็นกระแสข่าวอยู่หลายครั้ง ด้วยมีฐานะเป็นน้องชายของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาค 3 ก่อนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อปี 2559

พล.อ. ปรีชา เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ต่อมาได้ เป็น ส.ว. และเข้าไปเลือกพี่ชายตนเองให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อมาหลังเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำหน้าที่ในฐานะ สนช. ของ พล.อ. ปรีชา ว่ามีกรณีขาดการประชุมจำนวนมาก จนอาจทำให้พ้นเก้าอี้ ในเวลาต่อมา พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นประธาน ส.ว.) ชี้แจงว่า พล.อ. ปรีชา ได้ส่งใบลาอย่างถูกต้อง

และนี่คือ พล.อ. ปรีชา โดยสังเขป ที่ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้ง และอยู่ในความสนใจของประชาชนมาโดยตลอด

ข้อมูลจาก : the standard, senate.go.th(1), senate.go.th(1), ราชกิจจานุเบกษา

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: