โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “Chula-Cov19” ได้จัดงานแถลงข่าวความคืบหน้าหลังทดสอบฉีดวัคซีนในลิงเข็มที่สองแล้วได้ผลดี เเพลนทดลองวัคซีนกับมนุษย์ตามแผนต่อไป
จากความคืบหน้าของผลการทดลองวัคซีนในลิงเข็มที่สองได้ผลดี ทำให้ประชาชนทีความหวังอีกครั้งว่าประเทศไทยจะมีวัคซีนต้านโควิด19เร็วๅนี้ ล่าสุด ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย บอกว่า ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ที่มีชื่อว่า “Chula-Cov19″โดยผลทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิงเข็มที่ 2 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ลิงสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ทุกตัวมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่พบผลข้างเคียง จึงเดินหน้าทดสอบในมนุษย์ตามแผน ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคมนี้
ทางด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ผลทดสอบในลิงเข็ม 2 พบระดับภูมิคุ้มกันที่สูงมากเฉลี่ยระดับ 5,000 ไตเติ้ล ถือว่าเกินคาดมาก และหากนำมาฉีดในคน อาจทำให้ภูมิกันต่ำกว่าที่ฉีดในลิงถึง 70 เท่า เพราะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนกับสัตว์ต่างกันทำให้สถาพร่างกายที่รับวัคซีนเขาไปได้ผลต่างกันหลังจากที่ทดสอบในลิงได้ผลแล้ว สัปดาห์หน้าจะเลือกวัคซีน 2 ตัว ส่งไปให้ 2 โรงงานในต่างประเทศ คือที่ อเมริกา และ แคนาดา จากนั้นจึงจะเดินหน้าทดลองฉีดวัคซีในคนเฟส 1 ซึ่งได้เตรียมไว้ประมาณ 1 หมื่นโดส จะฉีดให้กับ 5 พันคน
หลายคนมีข้อสงสัยว่าจะทดลองฉีดวัคซีนในคนกลุ่มไหนก่อน บางคนคิดว่าน่าจะทดลองกับผู้สูงอายุเพราะว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ศ.นพ.เกียรติบอกว่าสำหรับการทดลองในคน จะแบ่งออกเป็น 3 เฟส โดยเฟสแรก จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก จะฉีดให้กับคน อายุ 18-60 ปี จำนวน 75 คน ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน หากการทดลองให้ผลดีจะทดลองต่อในกลุ่มที่ 2 คือ อายุ คน 61-80 ปี รวมๆแล้วต้องการอาสาสมัครในการทดลองวัคซีนประมาณ 500 ถึง 1,000 คน คาดการณ์ว่าผลการทดลองจะทราบประมาณช่วงกลางปีหน้า
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้พัฒนาวัคซีนชนิด mRNA ประมาณ 18 ตัว แต่มี 4 ตัว ที่ก้าวหน้ากว่าประเทศไทยอยู่ 6 เดือน คาดว่า หากมี 1 ตัวสำเร็จในต้นปีหน้า และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อเมริกา และยุโรป แล้ว ทาง อย.ไทยคงจะมั่นใจและผ่านการทดลองในคนระยะที่ 3 ไปเลยก็ได้ และจะช่วยลดลดระยะเวลาในเฟสนี้ได้ถึง 9-12 เดือน จะทำให้มีวัคซีนใช้ได้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลไทยก็ต้องเตรียมจัดซื้อวัคซีนจากต่างประเทศร่วมด้วย
ส่วนเรื่องที่อยากจะชี้แจงตอนนี้ยังไม่ได้ประกาศรับอาสาสมัครเข้าโครงการทดลองวัคซีนโควิด 19 อย่างเป็นทางการ เพราะต้องรอให้อย.รับรองความปลอดภัยก่อน รวมทั้งรอให้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ อนุญาตก่อนจึงจะประกาศรับอาสาสมัครได้ ซึ่งตอนนี้ทางคณะวิจัยก็ได้เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักและมีการทดลองพิษวัคซีนควบคู่กับการวิจัยไปด้วย เพื่อให้สบายใจได้ว่าการทดลองวัคซีนในคนจะไม่เกิดอันตรายแก่ชีวิต คาดว่าผลการรับรองต่างๆน่าตะแล้วเสร็จในช่วงเดือนกันยายน ประมาณกลางๆหรือปลายเดือนกันยายนนี้จะเปิดรับอาสาสมัครทดลองวัคซีนตามแผนต่อไป ซึ่งจะมีการฉีดทดลองในคนช่วงตุลาคมหรือธันวาคมนี้
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ