ย้ายหมอชิตกลับที่เดิม! ทุ่ม2.6หมื่นล้าน ปั้นสถานีแห่งใหม่พ่วงมิกซ์ยูสบนพหลโยธิน





คมนาคม ลั่นกลาง ต.ค. ชง คจร .ไฟเขียวย้ายหมอชิตกลับที่เดิม บีเคที ทุ่ม 2.6 หมื่นล้าน พัฒนาสถานีขนส่ง-มิกซ์ยูสแห่งใหม่บนพหลโยธิน ขยายถนนวิภาวดีซอย 5 -ผุดทางยกระดับเชื่อมโทลเวย์

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ หมอชิต หรือ หมอชิต 2 กลับไปอยู่สถานีส่งหมอชิตเก่า ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสว่า ตามนโยบายและแผนงานของกระทรวงคมนาคม กำหนดให้ บขส. ต้องคืนพื้นที่สถานีขนส่งจตุจักรให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ภายในไตรมาส 3 หรือไตรมาส4 ปี 69 เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวไปพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ ภายใต้โครงการ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

โดย บขส.จะย้ายไปเช่าใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์บริเวณใกล้กับศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างว่าจ้างให้ บริษัท Bangkok Terminal (BKT) พัฒนาพื้นที่ โดยโครงการจะพัฒนาพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ

ด้านหลังโครงการซึ่งติดกับถนนวิภาวดีรังสิต จะพัฒนาเป็นสถานีบริการขนส่งแห่งใหม่(Bus Terminal)ที่ทันสมัยให้ บขส.เช่าใช้งาน ส่วนด้านหน้าโครงการซึ่งเป็นพื้นที่ด้านติดถนนพหลโยธินบริเวณ บริเวณหน้าสวนจตุจักรจะพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส มีอาคารพาณิชย์ โรงแรมและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่ง BKT จะลงทุนเองทั้งหมด ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท

“กรมธนารักษ์และBKT ได้มาหารือร่วมกับ สนข.เพื่อวางแผนงานรองรับด้านการจราจรและโครงข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจรจาติดขัดภายในโครงการและบริเวณโดยรอบ ซึ่งขณะนี้ได้ร่วมกันจัดทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย สนข. จะนำเสนอโครงการพร้อมแผนรองรับจราจรเสนอให้ ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติภายในกลางเดือนต.ค.นี้ หากผ่านการอนุมัติ คจร ธนารักษ์จะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป”

นายปัญญากล่าวว่า สำหรับแผนการก่อสร้างสถานีบริการขนส่งแห่งใหม่ (Bus Terminal)นั้น BKT จะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ในส่วนของอาคารสถานีซึ่งพื้นที่ด้านหลังจะติดกับถนนวิภาวดีรังสิต และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเจรจาหนาแน่ จะมีการขยายถนนบริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 5 ให้เป็น 2 ช่องจรจาขนาดใหญ่

โดยกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้ก่อสร้างและเวนคืนที่ดีบริเวฯดังกล่าวเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้งบราว 1.6พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน รวมทั้ง BKT จะมีการดำเนินการก่อสร้างทางทางยกระดับเชื่อมจากโทลเวย์เข้ามายังโครงการด้วย

ส่วนบริเวณด้านหน้าโครงการ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าสวยจตุจักร BKT จะมีการดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมจาก ตลาด อ.ต.ก. เข้ามายังโครงการ และยังสามารถเชื่อมต่อกับทางยกระดับเกียกกายด้วย
“ตามแผน BKT ระบุว่าช่วง ไตรมาสที่ 1-2 ปี68 จะเปิดประมูลงานก่อสร้างสถานีแห่งใหม่ เริ่มงานก่อสร้างประมาณช่วงไตรมาสที่ 3ปี68 จากนั้นก็ทดสอบระบบ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาส1ของปี70”

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: