เปิดมติครม. “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” ทุ่มหมื่นล้าน จ้างงาน 6หมื่นคน





โฆษกรัฐบาล แถลงมติครม. รายละเอียดอนุมัติเงินกู้กว่า 1 หมื่นล้าน โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จ้างเด็กจบใหม่-ประชาชนทั่วไป 6 หมื่นคน เพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงาน

วันที่ 6 ต.ค. 2563 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” หรือ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” จ้างงานเด็กจบใหม่  ประชาชนทั่วไป 

วงเงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ จำนวน 10,629 ล้านบาท ดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบโดย กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)

ซึ่งได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในการดูแลภาระกิจระดับเศรษฐกิจสังคมของตำบล โดยแต่ละตำบลจะมี 1 มหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยเหลือพร้อมทำงานร่วมกับทางภาครัฐและเอกชนรวมไปถึงภาคประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงานเพื่อช่วยลดความอยากจนของประชาชน 

โดยในระยะแรกมีการดำเนินการในพื้นที่ทั้งหมด 3,000 ตำบล และมีมหาวิทยาลัย 73 แห่ง เข้ามาดำเนินการในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งงบประมาณในการดำเนินโครงการทั้งหมด 10,629 ล้านบาท 

ทั้งนี้ในการดำเนินการจะมีการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ที่ว่างงาน จำนวน 60,000 คน เพื่อช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละตำบล ได้แก่

  • – การยกระดับเศรษฐกิจสังคมในตำบล 
  • – การสร้างและพัฒนาอาชีพใหม่ 
  • – การส่งเสริมความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน 
  • – การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน 
  • – การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน 

– การพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมไปถึงการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมในแต่ละตำบล 

โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดำเนินการในปีแรกคือ มีการยกระดับตำบลที่มีความพร้อมสูงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมพร้อมทั้งสามารถพัฒนาชุมชนของตนเองได้อย่างต่อเนื่องไปสู่ระดับความยั่งยืนจำนวน 750 ตำบล  

ในส่วนที่ 2 มีการยกระดับตำบลที่มีความพร้อมปานกลางไปอยู่ในระดับพอเพียงจำนวน 1,500 ตำบล ให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองในระดับหนึ่งจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวะภาพที่มีอยู่ในพื้นที่ 

และในส่วนที่ 3 จะมีการยกระดับตำบลที่มีความพร้อมต่ำไปสู่ระดับที่มีความสามารถที่จะอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันจำนวน 750 ตำบล ซึ่งการดำเนินโครงการจะมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 ปี 

ส่วนอัตราค่าจ้าง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า 

ประชาชาชนทั่วไป ที่จะจ้างงานต้องเป็นประชาชนที่ว่างงานและไม่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยจ้างในอัตรา 9,000 บาทต่อเดือน

บัณฑิตจบใหม่ ที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 3 ปี พร้อมทั้งมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานมีอัตราค่าจ้าง 15,000 บาทต่อเดือน

นักศึกษาที่กำลังศึกษา ในระดับอุดมศึกษา อาชีวะศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานมีอัตราจ้าง 5,000 บาทต่อเดือน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า  อว.จะดำเนินการจ่ายค่าจ้างผ่านบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก  และมีการเชื่อมโยงข้อมูลการจ้างงานกับแพลตฟอร์มแรงงาน  (Labour Platform) ของกระทรวงแรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ฯ ซ้ำซ้อนกับโครงการ/มาตรการอื่นๆ ของภาครัฐทั้งหมดต่อไป 

“ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย  เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่  และเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน

ข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: