สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงชี้แจงข้อกฎหมาย แม้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงแล้ว แต่ยังเอาผิดกับผู้ฝ่าฝืนในช่วง 15-22 ต.ค.ได้ ตามกฎหมาย
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แถลงสรุปผลการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการชุมนุมช่วง 13-22 ตุลาคม 63 ในพื้นที่นครบาล หรือ กรุงเทพฯ ดังนี้
1.การจับกุมดำเนินคดี มีการจับกุมทั้งหมด 81 ราย มีผู้ต้องหา 78 คน แบ่งเป็น
1.1 ข้อหา ฝ่าฝืนข้อกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำนวน 46 ราย
1.2 ข้อหา ร่วมกันชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ จำนวน 21 ราย
1.3 ข้อหา ประทุษร้ายต่อเสรีภาพพระราชินี ตาม ป.อาญา มาตรา 110 จำนวน 3 ราย
1.4 ข้อหา กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดที่มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติดชมโดยสุจริตเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มาตรา 116 จำนวน 10 ราย โดย ส่งท้องที่นอกเขตนครบาล 5 ราย
1.5 ข้อหา ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ตาม ป.อาญา มาตรา 368 ปรับ จำนวน 1 ราย
2.ผู้ถูกจับที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว 8 คน
ขณะที่ พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ย้ำว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพฯ แล้วนั้น การออกหมายจับ การจับกุม การควบคุมตัว การร้องทุกข์ดําเนินคดีกบผู้ที่ฝ่าฝื นข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ งที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล แขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธี พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
“ตํารวจสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษดําเนินคดีกับบุคคลผู้กระทําความผิดในขณะที่ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯมีผลบังคับใช้ ได้ภายในอายุความคดี แต่หากเป็นเพียงการยกเลิกหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ คําสั่ง หรือข้อกาหนด ที่ออกตามพระราชบัญญัติ หรือ ออกตามพระราชกําหนด แต่พระราชบัญญัติหรือพระราชกําหนด ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง กรณีเช่นนี้ต้องถือวาเป็นเพียงการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่กำหนดขึ้นตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น มิได้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงสาระที่เป็นกฎหมายแท้ๆ ทั้งนี้กรณี ที่ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จึง เป็นการยกเลิกประกาศ กําหนด คําสั่งที่กําหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น มิได้ยกเลิกหรือ เปลี่ยนแปลงสาระที่เป็นกฎหมายแท้ๆ”
“ดังนั้นผู้กระทําความผิดที่ฝ่าฝืนข้อกาหนด ประกาศ คําสั่ง ที่ออกตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉินฯในขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ มีผลใช้บังคับอยู่ และกาหนดให้ การกระทํานั้นเป็นความผิดและได้กาหนดโทษสําหรับการกระทํานั้น แม้จะยังดําเนินคดีไม่ เสร็จสิ้น หรือยัง มิได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ แต่การกระทําก็ยังคงเป็นความผิดตามมาตรา 9 และมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ อยู่เช่นเดิม โดยมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 18แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อีกทั้งสิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องมิได้ระงับไป ตามมาตรา 39 แห่ง ป.วิ.อาญา จึงต้องมีการดําเนินคดีอาญากบบุคคลดังกล่าวต่อไป”
ผู้ช่วยผบ.ตร.กล่าวว่า สรุปได้ว่า การกระทำใดๆที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 15ตุลาคม ถึง เที่ยงวันที่ 22 ตุลาคม ที่เป็นการละเมิด ฝ่าผืนการพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯตาม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตกทม.ยังสามารถดำเนินคดี ร้องทุกข์กล่าวโทษได้ โดยกระบวนการต่างๆ ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิใช่การดำเนินการตามอำนาจพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว แต่บทกำหนดโทษลงโทษตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ส่วนคดีทีมีการจับกุมแล้วก็ว่าไปตามกระบวนการ หมายความว่าหลังจากนี้หากตรวจสอบ พบมีหลักฐานการทำผิดในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ตำรวจยังดำเนินคดีได้
ด้านพ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ย้ำว่า สถานการณ์ในขณะนี้ ขอให้ระมัดระวังเรื่องการนำเสนอ Hate Speech หรือถ้อยคำกล่าวโจมตีกัน ในสังคมซึ่งอาจทําให้เป็ นการเพิ่มความขัดแย้ง
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ