เปิดความหมายฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ชุดไทยเรือนต้น ผ้าไหมสีเขียวไข่ครุฑ พระภูษาปักไหมน้อยลายดอกไม้ไทย พระกระเป๋า-ผ้าปักไหมน้อย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
วันที่ 21 มีนาคม 2564 แฟนเพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เปิดเผยถึงที่มาฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยระบุว่า ชุดไทยเรือนต้น ผ้าไหมสีเขียวไข่ครุฑ พระภูษาปักไหมน้อยลายดอกไม้ไทย พระกระเป๋า-ผ้าปักไหมน้อย
การปักซอย คือ เป็นการปักผ้าโบราณของไทยด้วยวิธีปักขึ้นลงถี่ ๆ สับหว่าง แซม และโค้งไปตามลวดลายภาพต้นแบบ ซึ่งเป็นการปักต้องอาศัยความละเอียดสูง จึงเกิดสีสันและเหลือบเงาได้เหมือนจริง การปักซอยนี้เป็นงานฝีมืออย่างโบราณที่สืบทอดกันในราชสำนักและเกือบจะสูญหาย หากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้บังเอิญไปพบภาพปักโบราณในพระบรมหาราชวัง เป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ปักด้วยไหมน้อย ซึ่งเป็นฝีมือของช่างหลวงสมัยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ภาพจาก เฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
เมื่อทราบว่ายังมีผู้ที่สามารถปักงานโบราณแบบนี้ได้ จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้คัดเลือกคุณข้าหลวงไปเรียนวิชาปักผ้าจากข้าราชบริพารฝ่ายในเพื่อสืบทอดวิชาปักผ้านี้ไว้ และในพ.ศ. 2518 พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงริเริ่มให้มีการสอนปักผ้า ด้วยวิธีแบบปักซอยแบบไทยขึ้น และนำผ้าปักเหล่านั้นมาประดิษฐ์หรือประดับของใช้ เพื่อเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงชีพแก่ราษฎร
สีไทยโทน เกิดจากเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงในวรรณกรรม บทประพันธ์ วัฒนธรรม และความเชื่อในสมัยก่อน รวมถึงภูมิปัญญาช่างศิลป์ของไทยที่สรรหาสีจากธรรมชาติ นำมาสกัด คัดแยกสี และบรรจงผสมกันเพื่อให้ได้สีที่มีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งในอดีตนั้นกลุ่มสีของไทยที่ปรากฎในงานจิตรกรรมมีแม่สี ถึง 5 สี รวมเรียกหมู่สีนี้ว่า “กลุ่มสีเบญจรงค์” ประกอบไปด้วย สีดำ สีขาว สีแดง สีเหลือง และสีคราม แต่ละสีสามารถนำมาผสมให้ได้สีสันที่สวยงามได้เพิ่มขึ้นอีก 10 สี ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ตามงานศิลปะแบบไทย เช่น งานภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานศิลป์ของช่างสิบหมู่
สีเขียวไข่ครุฑ เป็นอีกหนึ่งสีในกลุ่มงานจิตรกรรม มีลักษณะสีเขียวอ่อนอมฟ้า สีเหมือนกับสีไข่ขี้นกการเวก หรือสีหิน Terquoise ครุฑเป็นสัตว์กึ่งเทพ เป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
ข่าวจาก : kapook
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ