ระวัง!! อย่าใช้ผิดระหว่างคำว่า “โมทนา” กับ “อนุโมทนา” ต่างกันอย่างไร





เราชาวพุทธมักกล่าวคำๆหนึ่งซึ่งคุ้นเคยกันอย่างดีขณะที่เห็นผู้อื่นสร้างบุญกุศลและเรายินดีในบุญผู้นั้น และกล่าวว่า "อนุโมทนา" และบางคนก็กล่าวว่า "โมทนา" 

 

ภาพประกอบจาก theoctagonparish.org.uk


หลายคนสงสัยว่า คำว่า "อนุโมทนา" กับ "โมทนา" เหมือนกันหรือไม่ และต่างกันอย่างไร? 

ถ้าเหมือนกัน จะใช้ใช้แทนกันได้หรือไม่?
บางคนบอกว่า โมทนาใช้กับบุญใหญ่

ส่วนอนุโมทนาใช้กับบุญเล็กน้อย เพราะ อนุ แปลว่าเล็กน้อย 
อีกคนบอกว่า โมทนาใช้ยินดีกับตัวเอง อนุโมทนาใช้ยินดีกับผู้อื่น
อีกคนก็ว่า โมทนาใช้กับผลบุญที่เขาได้รับ อนุโมทนาใช้กับผลบุญที่เขาได้สร้าง

 


จากความคิดเห็นต่าง ๆ ข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า

ยังขาดความเข้าใจอย่างมาก และใช้กันผิด ๆ กันมาก

 

คำว่า โมทนา แปลว่า ชื่นชมยินดี มีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งอาจหมายถึง เรายินดีชื่นชมในบุญตัวเองก็ได้ หรือชื่นชมยินดีในบุญของเจ้ากรรมนายเวรเองก็ได้ และในเมื่อความหมายมันกว้าง ไม่ได้มีการเฉพาะเจาะจง จึงเกิดความสับสนกันขึ้นว่าตกลงฉันทำบุญให้ใคร? ใครได้บุญ? 

 

ในขณะที่คำว่า อนุโมทนา แปลว่า ยินดีตาม หรือ ยินดีกับเจ้าของบุญนั้น  

ดังนั้นคำที่ถูกต้อง คือ อนุโมทนา นั้นดีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเพิ่ม ไปต้องไปลด 

เทพเทวา หรือ เจ้ากรรมนายเวร จะรู้จักแต่คำว่า "อนุโมทนา" เท่านั้น

 

เราชาวพุทธ ควรศึกษาให้เข้าใจในเรื่องบุญกุศลในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้คำนี้ ควรเลือกใช้คำให้ถูกต้อง คือ คำว่า อนุโมทนา ซึ่งเป็นคำสากลที่ทั้งโลกมนุษย์ เทวโลก พรหมโลก หรือ อบายภูมิ 4 ต่างเข้าใจตรงกันและใช้กัน ในการสื่อถึงการให้มีส่วนร่วมในบุญกุศล 


ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ yantip.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: