“สองพระสมเด็จ” หนุน โคก หนอง นา มอบที่ดินให้ ‘กรมการพัฒนาชุมชน’ จัดสรร
วันที่ 21 พ.ค. ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนฯ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและคณะ
เข้าพบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต “โคก หนอง นา” ของกรมการพัฒนาชุมชน หลังเสร็จสิ้นการชมวีดีทัศน์การดำเนินงานโคก หนอง นา
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ต้องขอกราบขอบคุณในความเมตตาของ เจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่สนใจกิจกรรมโคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีภารกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุข มีความมั่นคง
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการขับเคลื่อนการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และ กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาคน ให้พึ่งตนเอง มีความเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโดยชุมชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจ พอเพียงและเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข”
โดยในปี 2563 กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” มีพื้นที่ต้นแบบ 32 แห่ง ผู้นำ 1,500 คน และเครือข่าย 22,500 คน และปี 2564 ดำเนินการโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง งบประมาณ 1,195 ล้านบาท 11,141 หมู่บ้าน และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฏีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” จากงบเงินกู้ 4,700 ล้านบาท 25,179 ครัวเรือน
“ปัจจุบันโครงการโคก หนอง นา ฝึกอบรมผู้สนใจเข้าสมัครแล้ว 30,503 คน และจ้างงานสำหรับผู้ได้รับผลกระทบการการแพร่ระบาดของโควิด -19 จำนวนจำนวน 9,157 รายและเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน ครอบคลุมทุกภูมิภาค 73 จังหวัด หากคณะสงฆ์หรือวัดใด สนใจเข้าร่วมโครงการ กรมพัฒนาชุมชนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสนองความต้องการของคณะสงฆ์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคณะสงฆ์และประชาชนรอบวัด..”
“ปัจจุบันโครงการโคก หนอง นา ฝึกอบรมผู้สนใจเข้าสมัครแล้ว 30,503 คน และจ้างงานสำหรับผู้ได้รับผลกระทบการการแพร่ระบาดของโควิด -19 จำนวนจำนวน 9,157 รายและเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน ครอบคลุมทุกภูมิภาค 73 จังหวัด หากคณะสงฆ์หรือวัดใด สนใจเข้าร่วมโครงการ กรมพัฒนาชุมชนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสนองความต้องการของคณะสงฆ์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคณะสงฆ์และประชาชนรอบวัด..”
ขณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ กล่าวตอบว่า “อาตมาขออนุโมนากับกรมพัฒนาชุมชน โครงการ โคก หนอง นา เป็นโครงการที่ดีในการสร้างความมั่นคงเรื่องอาหารให้กับประชาชนในยุคโควิด -19 นี้
วัดไตรมิตรมีที่ดินอยู่ที่ศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรม วัดไตรมิตร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ประมาณ 75 ไร่ ยินดีที่มอบให้กรมพัฒนาชุมชนไปออกแบบ จัดสรร ทำเป็นโคก หนอง นา โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการปลูกผักสวนครัวเลี้ยงพระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษาอยู่ที่นั้น พร้อมกับสงเคราะห์ญาติโยมที่อาศัยอยู่รอบบริเวณนั้น
หากไม่มีที่ดินทำกินหรือไม่มีที่ปลูกผัก มาขอทำมาหากินที่ดินของวัดได้ อาตมามอบ ให้ เจ้าคุณโฮ้ หรือ พระสุวรรณมหาพุทธาภิบาล ซึ่งท่านดูแลอยู่นั่น เป็นผู้ประสานงานกับกรมพัฒนาชุมชนเพื่อทำโคก หนอง นา ต่อไป หากไปดูเมื่อไรบอกด้วย ดำเนินการได้เลย ยิ่งเร็วยิ่งดี..”
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า “กรมพัฒนาชุมชนยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมตตา ซึ่งการจัดสรรอาจต้องแบ่งให้ครัวเรือน ๆ ละ 3 ไร่บ้าง 5 ไร่บ้าง 10 ไร่บ้าง เพื่อให้มีคนดูแล ซึ่งหลังจากนี้ไปจะขอดูโฉนดที่ดินเพื่อออกแบบและถวายให้เจ้าคุณสมเด็จได้พิจารณาว่า ชอบหรือไม่ชอบ เหมาะสมหรือไม่เหมาะหรือต้องแก้ไขอะไรบ้าง เร็ว ๆ นี้จะลงไปสำรวจพื้นที่พร้อมที่ปรึกษา ”
ซึ่งก่อนหน้านี้ สมเด็จพระวันรัตน์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ก็สนใจที่จะมอบที่ดินให้กับกรมการพัฒนาชุมชนจำนวน 200 -300 ไร่ ณ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ในการบริหารจัดการจัดสรรที่ดินทำโคก หนอง นา กับกรมการพัฒนาชุมชน
ข่าวจาก : Khaosod Online
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ