“รพ.จุฬาฯ” ปิดจุดคัดกรอง “โควิด-19” ไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย





ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผย “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” ปิดจุดคัดกรอง “โควิด-19” ไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย เชื่อที่อื่นน่าจะเหมือนกัน

(24 มิ.ย.2564) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า รพ.จุฬาฯ ปิดจุดคัดกรอง “โควิด-19” ตั้งแต่วันที่ 24-27 มิ.ย.2564 ชี้ ไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย

โดย หมอธีระวัฒน์ โพสต์เฟซบุ๊กพูดถึงสถานการณ์ “โควิด-19” ที่ รพ.จุฬาฯ โดยระบุว่า “คัดกรองโควิดจุฬาฯ ปิด 4 วัน 24-27

ไม่มีเตียงรับ แต่คนไข้ก็มาที่ ER อยู่แล้ว เพราะไปที่อื่นก็ไม่ได้ตรวจเช่นกันเนื่องจากตรวจแล้วต้องรับก็ไม่มีเตียงไม่มีคนดู เลยกลายเป็นมีอาการก่อนจึงมา ER ชึ่งล้วนมีอาการปอดบวมแล้ว และอาการหนัก ไม่มีเตียงอยู่ดี

ทุก รพ. น่าจะเหมือนกันหมด

1.โรงพยาบาลสนามสีแดง แคงแจ๋ เปิดได้แล้วที่รักษาคนไข้อาการหนักจนกระทั่งสอดท่อใช้เครื่องช่วยหายใจ ปัญหาคือ เอาหมอพยาบาลและเจ้าหน้าที่มาจากไหน เพราะแต่ละจังหวัดเตรียมตัวรับได้เลยอีกไม่นานอาจจะเหมือนกัน

2.การคัดกรองที่ทำมาตลอดเชิงรับตั้งแต่ปีที่แล้วถึงปัจจุบันมีรุกเป็นบางจุด ส่งผลให้เห็นชัดเจนว่าไม่สามารถป้องกันการระบาดได้และยกระดับเป็นอาการหนักทั้งหมด

3.วัคซีนที่ใช้ในโลกแห่งความจริง เห็นแล้วว่ามีติดได้ ถึงแม้จะน้อยลงแต่ข้อสำคัญคือเมื่อติดแล้วยังแพร่ต่อได้ปริมาณไวรัสมีจำนวนสูงจนน่าตกใจ ส่วนอาการอาจจะลดทอนลงบ้างแต่คงต้องห้ามทะนงตัวเด็ดขาด

4.ทุกคนในโรงพยาบาลทั้งคนรักษาพยาบาลและคนป่วยมีสิทธิ์ติดเชื้อได้หมดแม้ดูเหมือนคนปกติ

5.สถานการณ์โควิดในเชิงตั้งรับมาตลอดเช่นนี้มา 1 ปีครึ่ง เหมือนกับหลายประเทศที่ผ่านมา มนุษย์ไม่เคยเรียนจากความผิดพลาด ต้องการแต่คำสรรเสริญความสำเร็จ

 

ข่าวจาก : คมชัดลึก

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: