เปิดขั้นตอนการซื้อตั๋วโดยสารจากตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร รับชำระเงินเป็นเงินสด และเริ่มให้บริการในวันที่ 25 มิถุนายน 2564
การเดินทางด้วยรถไฟนับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย ทั้งโดยสารเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน บ้างไปทำงาน บ้างกลับภูมิลำเนา หรือบ้างก็ไปท่องเที่ยว เพราะเข้าถึงง่ายและสะดวก แต่บ่อยครั้งในชั่วโมงเร่งด่วนที่เราต้องเข้าคิวรอซื้อตั๋วโดยสารเป็นเวลานาน ๆ การรถไฟแห่งประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงเปิดให้บริการ “ตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ” (Automatic Ticket Vending Machine : TVM) สำหรับจำหน่ายตั๋วโดยสารขบวนรถชานเมืองและขบวนธรรมดาในระยะแรก ในเส้นทางกรุงเทพฯ – ลพบุรี / แก่งคอย / นครปฐม / สุพรรณบุรี และอรัญประเทศ โดยสามารถชำระด้วยเงินสด (ธนบัตรและเหรียญ) กับขั้นตอนง่าย ๆ ที่รวดเร็วและเหมาะกับช่วงเวลาการเดินทาง
ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ จำนวนทั้งสิ้น 10 เครื่อง ภายในสถานีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 9 สถานี ประกอบด้วย
- สถานีกรุงเทพ 2 เครื่อง
- สถานีสามเสน 1 เครื่อง
- สถานีบางซื่อ 1 เครื่อง
- สถานีดอนเมือง 1 เครื่อง
- สถานีรังสิต 1 เครื่อง
- สถานีฉะเชิงเทรา 1 เครื่อง
- สถานีวงเวียนใหญ่ 1 เครื่อง
- สถานีตลาดพลู 1 เครื่อง
- สถานีมหาชัย 1 เครื่อง
ตลอดจนในอนาคตอันใกล้ได้มีการวางแผนติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมตามสถานีต่าง ๆ รวมถึงติดตั้งที่สถานีกลางบางซื่อด้วย สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการซื้อตั๋วโดยสารจากตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ สามารถดูรายละเอียดขั้นตอนได้ ดังนี้
- หน้าจอแสดงผล
- ช่องสอดบัตรประชาชน
- ช่องชำระค่าโดยสารประเภทธนบัตร (สามารถใช้ธนบัตร 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท และ 1,000 บาท) และช่องชำระค่าโดยสารประเภทเหรียญ (สามารถใช้เหรียญ 1 บาท, 2 บาท, 5 บาท และ 10 บาท)
- ช่องรับบัตรโดยสาร
- ช่องรับเงินทอน
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ