ดร.อนันต์ เผยผลวิจัยชี้ “โมเดอร์นา” เป็นทางเลือกที่ดีกว่า “ไฟเซอร์” ในผู้สูงอายุ





เผยผลวิจัยชี้ ‘โมเดอร์นา’ เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ‘ไฟเซอร์’ ในผู้สูงอายุ เมื่อดูปริมาณแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ มีแอนติบอดีที่สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับไฟเซอร์

เมื่อวันที่ 11 ส.ค.64 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า Moderna ควรเก็บไว้ฉีดคุณตาคุณยายดีมั้ย???

ควันหลงจากโพสต์เรื่อง Pfizer Vs Moderna เมื่อวานครับ วันนี้มีงานวิจัยอีกชิ้นนึงที่เก็บข้อมูลโดยทีมวิจัยที่ประเทศแคนาดา ตัวอย่างคือผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา เกือบ 200 คน และ ผู้ดูแลผู้สูงอายุเหล่านั้น ที่ต่างได้รับวัคซีน mRNA ไม่ว่าจะเป็น Pfizer และ Moderna ครบแล้วทั้งสิ้น งานวิจัยนี้เปรียบเทียบภูมิคุ้มกันที่ตรวจในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนแต่ละชนิด และ เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ดูแลที่เป็นกลุ่มอายุน้อยกว่า

เมื่อเปรียบเทียบดูปริมาณแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ในกลุ่มผู้สูงอายุตัวเลขออกมาชัดว่า กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Moderna (mRNA-1273) มีปริมาณแอนติบอดีที่สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ Pfizer (BNT-162b2) ซึ่งตัวเลขตรงนี้จะไม่ชัดเมื่อดูในกลุ่มของผู้ดูแลซึ่ง Moderna จะสูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น

เมื่อนำซีรั่มดังกล่าวไปตรวจหาดูแอนติบอดีชนิด NAb ที่ยับยั้งไวรัสได้จะเห็นภาพเดียวกันคือ กลุ่มที่ได้วัคซีน Moderna สูงกว่า Pfizer อย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลจากการศึกษานี้เหมือนจะบอกว่า สำหรับผู้สูงอายุแล้ว Moderna น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า Pfizer

ภาพดูเหมือนจะชัดขึ้นอีกเมื่อดูปริมาณ NAb กับไวรัสสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ ให้สังเกตจำนวนจุดที่อยู่ในระดับ 10^0 (คือป้องกันไม่ได้เลย) ที่มีมากอย่างชัดเจนในผู้สูงอายุที่ได้ Pfizer โดยตัวเลขของผู้สูงอายุที่ได้ Pfizer และไม่มี NAb ต่อสายพันธุ์เบต้าเลยมากถึง 37.9%

ขณะที่ pattern ดังกล่าวเห็นไม่ชัดเมื่อดูในกลุ่ม Staff ที่อายุน้อยกว่า…ผลการทดลองนี้เหมือนจะบอกว่า ในอนาคตเราอาจจะมี mRNA vaccine มากขึ้น ซึ่งแต่ละยี่ห้ออาจจะได้ผลพอๆกันในกลุ่มหนึ่ง แต่อาจได้ผลต่างกันมากในอีกกลุ่มหนึ่ง วัคซีนทางเลือกของประเทศไทยอย่าง Moderna อาจจะจำเป็นต้องใช้กับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องการมากที่สุดหรือไม่อย่างไร?

เอกสารอ้างอิง
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.08.06.21261721v1

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: