“ประกันสังคม” พร้อมจ่ายเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 หากติดโควิดสามารถเบิกชดเชยรายได้ ได้ตามสิทธิ์
เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ของสำนักงานประกันสังคม แจ้งกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33) มาตรา 39 (ม.39) และ มาตรา 40 (ม.40) หากติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 กระทั่งขาดรายได้ สำนักงานประกันสังคมจะดูแลเยียวยา โดยเนื้อหาระบุว่า
สำหรับผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ว่าติดโควิด-19 สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลและแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วย เข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ที่ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 เบิกได้ดังนี้
• ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
• ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษาเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน
• ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
• ค่ายาที่ใช้รักษา
• ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
• ค่าบริการ X-ray ทรวงอก
• ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์
กรณีการเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้
• สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33) จะพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ช่วงที่ 30 วันแรกที่ลาป่วยจะได้ค่าจ้างจากนายจ้างแต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วันจะสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป
• สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ม.39) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท)
ทั้งนี้ พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
• กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ม.40) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
• หากผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 มีข้อสงสัย สามารถเข้าไปเช็กสิทธิ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ที่มีการให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวจาก : springnews
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ