จับตา! เบี้ยผู้สูงอายุถอยหลังลงคลอง ส่อแววจ่ายเฉพาะคนจน ไม่แจกถ้วนหน้า





เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (Welfare Watch Network) อ้างอิงการเปิดเผยของแหล่งข่าวคนหนึ่ง ระบุว่า ภาครัฐอาจจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เฉพาะกลุ่มคนยากจนเท่านั้นในอนาคต ไม่จ่ายแบบถ้วนหน้าอย่างในปัจจุบัน

แหล่งข่าวคนดังกล่าว ให้ข้อมูลว่าการสาเหตุของเรื่องนี้ว่าเป็นเพราะที่ผ่านมามีการเรียกเก็บเงินยังชีพผู้สูงอายุคืน พร้อมดอกเบี้ย จากการได้รับบำนาญพิเศษตกทอดมาจากบุตร จึงไม่อยากให้เกิดการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อน ดังนั้นจึงไม่พบว่าจำเป็นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า

แหล่งข่าวเผยอีกว่า กรมกิจการผู้สูงอายุจึงประชุมเพื่อหารือกับคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายแทนการจ่ายแบบถ้วนหน้า

การประชุมดังกล่าว ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร (14 ก.ย.) ที่ผ่านมา มีนายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน รองประธานอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ใหม่) เป็นประธานการประชุม ทั้งยังมีนางอภิญญา ชมภูมาศ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ, นางศิริลักษณ์ มีมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ, ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ผู้อำนวยการกอง/กลุ่ม, ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ เข้าประชุมด้วย

นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ตัวแทนจาก Welfare Watch Network ให้ความเห็นว่า หากมีมติออกมาเป็นเช่นนั้นจริง ยิ่งตอกย้ำว่าการจ่ายเบี้ยยังชีพ ที่ดำเนินการด้วยนโยบายภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ภาคประชาชนเสนอให้จัดทำ พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ที่เน้นการยืนยันสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ กลับถูกปัดตก

ตัวแทนจาก Welfare Watch Network รายนี้ กล่าวต่อไปว่า หากคณะกรรมการฯ มีมติให้กลับไปจ่ายเบี้ยยังชีพเฉพาะคนจนจริง คนที่ต้องตอบคำถามกับประชาชน คือ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ปล่อยให้นโยบายเบี้ยยังชีพที่ให้กับผู้สูงอายุอย่างถ้วนหน้ามาตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถอยหลังกลับไปเป็นการสงเคราะห์

“เป็นรัฐมนตรีคุมกระทรวงคุณภาพชีวิต แต่กลับไม่ปกป้องคุณภาพชีวิตของคน ทั้งที่ควรแสดงความกล้าหาญทางนโยบาย เปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญอย่างถ้วนหน้า ในยุคที่ประชาชนยากลำบากอย่างที่สุด” ตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าว

Welfare Watch Network เผยอีกว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ทางเครือข่ายได้ทำหนังสือขอสำเนาการประชุม จากอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เพื่อติดตามความคืบหน้า และมติการประชุมต่อมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่รับเงินซ้ำซ้อน แต่ก็ไม่ได้รับการติดต่อกลับทางจากกรมฯ แต่อย่างใด

 

ข่าวจาก : sanook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: