ทรัมป์ ฟ้องศาล ทวงคืนทวิตเตอร์ หลังโดนแบนตลอดชาติ ลั่น ตาลีบันยังโพสต์ได้ !





โดนัลด์ ทรัมป์ ฟ้องศาล ขอทวงคืนแอคเคานต์ทวิตเตอร์ หลังโดนแบนไม่ได้ผุดได้เกิด ชี้ ขนาดตาลีบันยังโพสต์ได้

วันที่ 2 ตุลาคม 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) อดีตผู้นำสหรัฐอเมริกา ยื่นคำร้องต่อศาลกลางรัฐฟลอริดา เพื่อเรียกร้องให้ ทวิตเตอร์ (Twitter) คืนแอคเคาท์ให้กับเขา หลังจากถูกแบนอย่างถาวร เนื่องจากทวีตข้อความที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมและขัดต่อนโยบาย

หน้าแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ในปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้

ทวิตเตอร์ และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ได้ระงับแอคเคาท์ของนายทรัมป์ หลังจากเกิดเหตุการณ์ Capitol Riot ในวันที่ 6 มกราคม 2564 ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนของนายทรัมป์จำนวนหลายพันคน บุกรุกอาคารัฐสภาและอาคารของรัฐหลายแห่งในกรุงวอชิงตันดีดี เพื่อประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยมีการก่อจราจล สร้างและความเสียหาย ส่งให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 นายทรัมป์ประกาศไม่ยอมรับความพ่ายแพ่ต่อ นายโจ ไบเดน (Joe Biden) คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต และกล่าวอ้างว่าตนตลอดว่าถูกโกงเลือกตั้ง การนับคะแนนไม่โปร่งใสในหลายรัฐ และแชร์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก เขายังเริ่มปลุกปลั่นผู้สนับสนุนของเขา และในที่สุดเขาก็ออกมาประกาศต่อหน้าสาธารณชน ยุยงให้บุกสภา

ทวิตเตอร์เล็งเห็นว่า นายทรัมป์ใช้แพลต์ฟอร์มเพื่อแสดงอำนาจทางการเมืองในทางที่ผิด และนำไปสู่ความเสี่ยงอันตราย จึงได้ทำการระงับบัญชีผู้ใช้ ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 88 ล้านคน อย่างถาวร

ในคำร้องต่อศาล นายทรัมป์กล่าวว่า แอคเคานต์ของตนถูกมองว่าเป็นภัยต่อสังคม ถูกกล่าวหาว่า สนับสนุนความรุนแรง และ นำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ ในขณะที่กลุ่มตาลีบัน (Taliban) สามารถทวีตประกาศฉลองชัยชนะเหนืออัฟกานิสถานได้อย่างเสรี

ก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม 2564 นายทรัมป์ได้ยื่นฟ้องร้อง ทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก (Facebook) และ กูเกิล (Google) รวมทั้งซีอีโอของแพลฟอร์มเหล่านี้ด้วย โดยกล่าวหาว่า ใช้อำนาจปิดกั้นมุมมอง “อนุรักษ์นิยม” ของตน อย่างมิถูกต้องตามกฎหมาย

ทางด้าน ทวิตเตอร์ ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ กับคำร้องขอคืนแอคเคานต์ดังกล่าว

 

ข่าวจาก : kapook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: