“หมอยง” ขอปชช.ได้วัคซีนครบ 2-3 เข็มก่อน ส่วนเข็ม4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็น





“หมอยง” ขอปชช.ได้วัคซีนครบ 2-3 เข็มก่อน ส่วนเข็ม4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็น แถมยังต้องรอองค์ความรู้เพิ่ม-วัคซีนรุ่นใหม่

“หมอยง” ขอปชช.ได้วัคซีนครบ 2-3 เข็มก่อน ส่วนเข็ม4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็น แถมยังต้องรอองค์ความรู้เพิ่ม-วัคซีนรุ่นใหม่
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “วัคซีนโควิด-19 มีคำถามถึงเข็ม 4 กันแล้ว ??” โดยมีรายละเอียดว่า

โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ วัคซีนก็ใหม่ การดำเนินการอะไรจำต้องอาศัย องค์ความรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อประโยชน์สูงสุด และลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น การต่อสู้ต้องใช้เวลายาวนาน

มาถึงเวลานี้ เราทราบว่าการให้วัคซีนเบื้องต้น ป้องกันได้ระดับหนึ่ง จำเป็นต้องกระตุ้นเข็ม 3 ที่ให้ภูมิต้านทานสูงและอยู่นาน ขอให้ทุกคนได้ครบ 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 ก่อน

เข็ม 4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็นและถึงเวลา และรอเวลาอีกหน่อย ให้องค์ความรู้เพิ่มขึ้น หรือมีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่

1. การฉีด 3 เข็ม อย่างในประเทศไทย ที่มีการกระตุ้นด้วย AZ ตามหลังเชื้อตาย หรือ Pfizer Moderna ก็น่าจะเพียงพอในระดับหนึ่ง และรอผลการศึกษาประสิทธิภาพและการลดลงของภูมิต้านทาน

2. การฉีดวัคซีนระยะใกล้กัน เช่น เข็ม 3 กับ เข็ม 4 ที่ใกล้กัน การกระตุ้นภูมิต้านทานจะสู้ที่ห่างออกไปไม่ได้ (ยิ่งห่างยิ่งดี) การกระตุ้นได้ดีกว่า เหมือนน้ำเต็มขัน ยังไม่ทันลด ถึงเติมไปก็ไม่ได้ประโยชน์มาก ร่างกายยังมีหน่วยความจำช่วยได้อีก วัคซีนระยะห่าง ยิ่งห่างยิ่งกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี แต่ห่างมากไป เกรงว่าจะติดเชื้อแทรกกลางเสียก่อน จุดสมดุลต้องมี

3. การให้วัคซีนมากครั้ง เสี่ยงกับอาการข้างเคียงที่มากขึ้น เช่นการให้ mRNA ถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 อาการข้างเคียงมากกว่าครั้งแรก เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ครั้งที่ 3 พบว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 2 ครั้งแรก ในการต่อสู้ที่ยืดเยื้อจะมีผลอย่างไร ไม่มีใครรู้ คงต้องรอข้อมูลการติดตามผล และองค์ความรู้เพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าจะมีภาคเอกชนให้แสวงหาได้ หรือจองไว้แล้ว เลื่อนได้ ให้เลื่อนไปก่อน (เข็ม 4) ในการที่จะได้รับถึง 4 เข็ม จากข้อมูลทั้งหมด การได้รับครบ 3 ครั้งแล้ว ขอให้รอข้อมูลก่อน ในอนาคตยังไม่รู้ว่าจะมีไวรัสตัวใหม่อะไรอีก อย่างน้อยก็ 6 เดือน หลังเข็ม 3 หรือมีข้อมูลใหม่มาช่วยในการพิจารณา ว่าจำเป็นต้องให้เร็วกว่านั้น

 

ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: