ลดเงินสมทบประกันสังคมใหม่ ม.33 ม.39 ม.40 เริ่มจ่าย พ.ค. นี้





เช็คอัตราจ่าย ลดเงินสมทบประกันสังคมใหม่ ผู้ประกันตน มาตรา33 มาตรา 39 มาตรา 40 เริ่มจ่าย พ.ค. 2565 ต้องจ่ายเท่าไหร่ เช็คที่นี่

เกาะติด ลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และผู้ประกันตน นาน 3 เดือนเริ่ม พ.ค.- ก.ค.65 หลัง มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. ลดอัตราเงินสมทบ 3 เดือน จากเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565

โดยรัฐบาลใช้กลไกของกองทุนประกันสังคม เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้ประกันตน และลดต้นทุนการผลิตให้แก่นายจ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป เพื่อให้ลูกจ้างมีกำลังในการใช้จ่าย และผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป

การลดอัตราเงินสมทบ 3 งวดนี้ ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบได้ลดลง 34,023 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลงเป็นเงิน 18,085 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายเงินลดลงเป็น 15,938 ล้านบาท

ลดเงินสมทบอัตราใหม่ 3 เดือน 

  • มาตรา 33 ลดอัตราเงินสมทบเหลือ 1% ต่อเดือน จาก 5% ต่อเดือน ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง
  • มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบเหลือ 1.9% ต่อเดือน จาก 9% ต่อเดือน จากเดิมที่ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 91 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 341 บาทต่อคนต่อเดือน

ผู้ประกันตนมาตรา 40

กระทรวงแรงงานยื่นเรื่องการลดอัตราเงินสมทบต่อ ครม. และมีการเคาะอนุมัติแล้ว แต่ต้องรอการอนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมหากผ่าน จะถูกลดทั้ง 3 ทางเลือก

  • อัตราเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน อัตราลดเป็น 42 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย
  • อัตราเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน อัตราลดเป็น 60 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ
  • อัตราเดิมจ่ายสมทบ 300 บาท/เดือน อัตราลดเป็น 180 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

 

ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: