ราชกิจจา เผยแพร่ กฎใหม่ขรก.รัฐสภาสามัญ ครบเกษียณทำงานต่อได้อีก10ปี





ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ “กฎ ก.ร.ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งมีอายุครบหกสิบบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2565” กรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการ สามารถทำงานต่อได้อีก 10 ปี มีผลบังคับใช้ทันทีหลังวันประกาศ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ “กฎ ก.ร.ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งมีอายุครบหกสิบบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2565” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 มีสาระสำคัญ ว่า ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใด และดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือดํารงตําแหน่งประเภท ทั่วไป ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษ สามารถรับราชการต่อไป เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ตามกฎ ก.ร. โดยจะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

สำหรับ “กฎ ก.ร.ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งมีอายุครบหกสิบบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2565” โดย กฎใหม่ เนื้อหาระบุว่า

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ ตังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตันไป

ข้อ ๒ การให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใดและดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษ รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามกฎ ก.ร. นี้ จะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

โดยตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีความขาดแคลน บุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ ต้องใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์ทางวิชาการความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระบวนงานของฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ ที่จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว และหาผู้อื่นปฏิบัติงานแทนได้ยาก ทั้งนี้ ตามบัญชีตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่ได้รับราชการต่อไป ท้ายกฏ ก.ร. นี้

ข้อ ๓ กำหนดเวลาที่จะให้รับราชการต่อไปตามกฎ ก.ร. นี้ ให้กระทำไต้ตามความจำเป็น โดยในครั้งแรกให้สั่งให้รับราชการต่อไปไต้ไม่เกินสี่ปี และถ้ายังมีเหตุผลและความจำเป็นจะให้รับราชการต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสามปี แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสิบปี

เมื่อครบกำหนดเวลาที่สั่งให้รับราชการต่อไปตามวรรคหนึ่ง ให้สั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ถ้าความจำเป็นที่ให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปหมดลงก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว จะสั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ก่อนครบกำหนดเวลาตังกล่าวก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้นั้นทราบส่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

ข้อ ๔ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดมีความจำเป็นที่จะให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้

  • (๑) แผนงาน โครงการ ตลอดจนภารกิจที่มีความจำเป็นจะให้ผู้นั้นปฏิบัติ จำแนกเป็นรายปี
  • (๒) สภาวะการขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพทั้งในส่วนราชการนั้นและในภาพรวม ความสามารถในทางวิชาการ หรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้นั้น และความยากในการสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถหมาะสม มาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
  • (๓)  เหตุผลและความจำเป็นที่จำต้องให้ผู้นั้นปฏิบัติภารกิจ ตาม (๑)
  • (๔) ระยะเวลาที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
  • (๕) ข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามข้อ ๕
  • (๖)  แผนการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับข้าราชการระดับรองลงไป

ข้อ ๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูณ์แล้วที่จะให้รับราชการต่อไปได้ตามข้อ ๒ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • (๑) ดำร้งตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป หรือประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
  • (๒)  มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ ประสบการณ์  และมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานในตำแหน่งตังกล่าวเป็นที่ยอมรับของส่วนราชการสังกัตรัฐสภา เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นต่อไปได้
  • (๓) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ถูกกล่วหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
  • (๔) ผ่านการตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด

ข้อ ๖ การให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษตามข้อ ๒ ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณา

ข้อ ๗ ให้ส่วนราชการสังกัรัฐสภาดำเนินการตามข้อ ๖ ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และให้ ก.ร. พิจารณาข้อเสนอของส่วนราชการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น

ข้อ ๘ เมื่อก.ร. เห็นชอบให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีคำสั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป และให้ส่งสำเนาคำสั่งให้กรมบัญชีกลางทราบ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อ ๙  การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญรับราชการต่อไปเป็นครั้งแรกนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้มีคำสั่งภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์

ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปแล้ว ถ้ไต้รับความเห็นชอบให้รับราชการต่อไปอีก ให้มีคำสั่งก่อนวันครบกำหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปในครั้งก่อน

ข้อ ๑๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับราชการต่อไปตามกฎ ก.ร. นี้ จะต้องดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เฉพาะตำแหน่งที่ให้รับราชการต่อไปเท่านั้น จะย้าย โอน หรือเลื่อนไปดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งอื่น หรือจะรักษาราชการแทน รักษาการในตำแหน่งรับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ไปช่วยราชการ หรือไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอื่นไม่ได้

ข้อ ๑๑ ความในข้อ ๗ ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ชวน หลีกภัย
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.

อ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม คลิกที่นี่

สำหรับบัญชีตําแหน่งที่ ก.ร. กําหนดให้เป็นตําแหน่งที่ได้รับราชการต่อไป ท้ายกฎ ก.ร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีอายุครบหก 60 บริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2565 มีดังนี้

ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จํานวน 1 สายงาน ได้แก่ ตําแหน่งในสายงาน – นิติการ

อ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม คลิกที่นี่

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: