ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-8% กระทรวงแรงงานจ่อพิจารณาปรับ ส.ค. นี้





7 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงแรงงานส่งสัญญาณเคาะขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเดือนสิงหาคม 2565 นี้ โดยคณะกรรมการไตรภาคีเตรียมเคาะตัวเลขปรับขึ้น 5-8% คำนวณจากฐานเงินเฟ้อตามหลักสากล

จากกรณีกลุ่มแกนนำผู้ใช้แรงงานได้เข้าพบนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือเรื่องการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 492 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ยืนยันว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงแน่นอน และจะมีผลช่วงเดือน มกราคม 2566 แต่แต่คงจะปรับเป็นตัวเลขตามที่เสนอมาไม่ได้ และคงไม่สามารถเท่ากันทั่วประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทต่างกัน

สำหรับไทม์ไลน์ในการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงที่มีการแจ้งก่อนหน้านี้คือ

  • เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 เก็บข้อมูลตัวเลขจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ และพยายามเร่งรัดให้แต่ละจังหวัดสรุปตัวเลขให้ได้ภายในเดือนมิถุนายน หรือไม่เกินเดือนกรกฎาคม
  • เดือนสิงหาคม 2565 ไม่เกินเดือนกันยายน 2565 นำข้อสรูปส่งมาที่ส่วนกลาง ส่วนกลางจะพยายามทำให้เสร็จ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) จะสามารถพิจารณาอัตราค่าจ้างได้ในเดือนสิงหาคมนี้ เพราะมีการการสรุปตัวเลขจาก 77 จังหวัดเสร็จแล้วเมื่อกรกฎามคม 2565 โดยเบื้องต้นค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับขึ้นราว 5-8% ตามหลักการปรับตามหลักสากลที่อิงจากฐานของอัตราเงินเฟ้อในการคำนวณ

ทั้งนี้ เป้าหมายจะให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2566 อาจจะพิจารณาให้มีผลบังคับใช้สิ้นปีนี้ เนื่องจากลูกจ้างได้รับผลกระทบต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย หลังจากนี้ต้องนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้ต่อไป

ล่าสุดนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การขึ้นค่าแรงอาจมีผลเร็วกว่าที่กำหนด 2-3 เดือน ก่อน 1 มกราคม 2566 เพราะสภาองค์กรภาคแรงงานจำนวนมากเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าแรงมีผลในปี 2565

 

ข่าวจาก : ประชาชาติธุรกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: