คนขับรถเมียจะคลอด บริษัทให้ลา6เดือน-รับเงินเต็ม ทั้งที่อยู่ในไทย





ตามกฎหมายประเทศไทย หากคุณแม่ลูกอ่อนเพิ่งคลอดลูก มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยที่ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม ซึ่งกฎหมายข้อนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงคุณพ่อด้วย อย่างไรก็ตาม กลับมีสถานที่ทำงานแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในไทย กลับให้สิทธิลาคลอดถึงคุณพ่อด้วย สามารถลาได้ถึง 6 เดือน ซึ่งก็คือ สถานทูตสวีเดนประจำประเทศไทย

วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เฟซบุ๊ก Embassy of Sweden in Bangkok สถานทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ได้โพสต์ถึงสวัสดิการลาคลอดของคุณพ่อคุณแม่ป้ายแดงในองค์กรว่า ตอนนี้เจ้าหน้าที่ชาวไทยคนหนึ่งขององค์กร คือ คุณสมชาติ สุชีเพ็ชร หนึ่งในพนักงานขับรถยนต์ของสถานทูตและทำงานกับเรามาเกือบ 30 ปี ได้รับสิทธิ์ลาเลี้ยงดูบุตร สำหรับคนเป็นพ่อได้ถึง 6 เดือน โดยที่ยังได้รับค่าจ้างเท่าเดิม

พร้อมกันนั้น ยังมีการโพสต์ภาพคุณสุชาติและภรรยาซึ่งกำลังอยู่ในช่วงท้องแก่ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน และอวยพรให้คุณแม่คลอดบุตรอย่างปลอดภัยในอนาคตอันใกล้

ไม่ได้มีแค่ลาคลอด 6 เดือน ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ ทางสถานทูตระบุถึงสวัสดิการอื่น ๆ ว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสถานทูตทุกคน ยังได้รับสิทธิต่าง ๆ ซึ่งปฏิบัติทั่วโลก ได้แก่

– การลาเพื่อดูแลบุตรอายุต่ำกว่า 10 ปีที่ป่วย จำนวน 10 วันต่อเด็ก 1 คน ต่อ 1 ปี

– การลาพักผ่อน 28 วันต่อปี

– วันหยุดราชการจำนวน 13 วันต่อปี

– การพบปะเพื่อดื่มกาแฟหรือชา พร้อมของหวานสไตล์สวีเดนทุก ๆ วันศุกร์ หรือเรียกว่า ฟิก้า

ทั้งนี้ สถานทูตสวีเดนเชื่อว่า การให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่ลูกจ้างทั่วโลก เพราะเรามั่นใจว่า สภาพการจ้างงานที่ดี ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง การส่งเสริมเท่าเทียมทางเพศ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศโดยรวม

ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ ทางเพจเคยเปิดเรื่องราวของ Jon Åström Gröndahl เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ก็เคยลาเลี้ยงลูกเหมือนกันเป็นเวลาถึง 6 เดือน ซึ่งท่านทูตก็ยอมรับว่า ท้าทาย แต่ก็สนุกและเหมือนได้รับรางวัล

ชาวเน็ตอิจฉา รัฐสวัสดิการที่ดีเป็นแบบนี้เอง

สำหรับความคิดเห็นชาวเน็ตที่ได้อ่านเรื่องราวนี้ ต่างชื่นชมสถานทูตสวีเดนที่ดูแลพนักงานเป็นอย่างดี ใช้รัฐสวัสดิการในแบบประเทศตัวเองกับพนักงานท้องถิ่นที่ทำงานให้นอกประเทศ พนักงานที่ทำงานที่นี่ต่างโชคดีมาก อยากให้ประเทศไทยมีสวัสดิการดี ๆ แบบนี้บ้าง

 

ข่าวจาก : kapook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: