จากข่าวแพทย์โพสต์เตือน! กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจของอาการปวดเอวร้าวลงขา หลังพบคุณลุงวัย 50 ปี ปวดมานานจนไม่สามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ ตรวจพบก้อนเนื้อกดเบียดทับเส้นประสาท “เสี่ยงขาอ่อนแรง” ในเพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ระบุข้อความว่า
“กรณีศึกษาผู้ป่วยที่น่าสนใจ ผู้ป่วยชายอายุ 50 ปีเศษ ให้ประวัติปวดหลัง ปวดสะโพกด้านซ้าย เสียวลงไปขา กินยาแก้ปวด หาหมอบีบหมอนวด ไม่ดีขึ้น อาการเป็นมากขึ้นจนประกอบกิจวัตรประจำวันปกติไม่ได้ ถ้านั่งจะดีขึ้น เดินไปนานๆ จะปวดมาก จึงได้มาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์
ส่งพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ตรวจอาการเบื้องต้น สงสัยเส้นประสาทถูกกดทับ ระดับกระดูกสันหลังข้อที่ 4 ได้ส่งตรวจวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) จากภาพรังสี เห็นเป็นก้อนเนื้อไปกดเบียดทับเส้นประสาทอย่างชัดเจน จึงแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดระบบประสาทสมอง ไขสันหลังต้องใช้ทักษะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ระบบประสาท ผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อตัดเอาส่วนที่เป็นก้อนเนื้องอกออก โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง ใช้เวลาผ่าตัดกว่า 1 ชั่วโมง ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ติดตามอาการผู้ป่วยหลังผ่าตัด ดีขึ้นอย่างชัดเจน หากทิ้งไว้เนิ่นนาน อาการรุนแรง ทำให้ขาอ่อนแรงตามมาได้ ปวดเอว ปวดสะโพก ปวดร้าวไปขาอย่าละเลย รีบไปปรึกษาแพทย์”
ปวดสะโพกร้าวลงขา
สำหรับ ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) เป็นอาการปวดที่เริ่มต้นบริเวณช่วงเอวหรือสะโพก และมีความปวดร้าวไปถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางรายอาจร้าวไปถึงน่องหรือเท้า ซึ่งอาการเช่นนี้วินิจฉัยได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการถูกกดทับบริเวณเส้นประสาท โดยอาจเป็นเรื่องของหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับ หรืออาจเป็นลักษณะของกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาทในคนสูงอายุ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือสาเหตุอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการปวดลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง น้อยรายที่จะมีอาการที่ขาทั้งสองข้าง
เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เราควรต้องทำความเข้าใจโครงสร้างภายในร่างกายกันก่อน โดยเส้นประสาทที่มักจะถูกกดทับมีชื่อว่า Sciatica Nerve ที่มีจุดเริ่มต้นออกมาจากบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างช่วงเอว พาดผ่านสะโพกด้านหลัง ต้นขาด้านหลัง น่อง ไปจนถึงเท้า เพราะฉะนั้นหากมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ผิดปกติและไปกดเบียดเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง หรือตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งผ่าน ก็อาจจะมีอาการปวดหลังร้าวลงขาไปตามแนวเส้นประสาทได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท มีดังต่อไปนี้
1.ชอบนั่งไขว้ห้าง หรือนั่งถ่ายน้ำหนักลงสะโพกข้างเดียว
2.นั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน
3.การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานาน
4.การออกกำลังกายที่หนักจกเกินไป เช่น การวิ่ง ,การเล่นกีฬา ฯลฯ
รู้หรือไม่?
ในขณะที่เราอยู่ในอริยาบทต่างๆ ข้างต้น มีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่อยู่ลึกๆในก้นของเราต้องทำงานหนัก หดตัวซ้ำๆ จนเกิดการเกร็งตัวและบาดเจ็บขึ้นมา ซึ่งมักจะเกิดกับมัดกล้ามเนื้อที่เรียกว่า piriformis ซึ่งในมัดกล้ามเนื้อตัวนี้จะมีเส้นประสาทขนาดใหญ่ลอดผ่านกล้ามเนื้อมัดนี้ หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีความตึงตัวมากๆจะส่งผลให้เกิดแรงเบียดทับเส้นประสาทและเกิดอาการปวดขึ้นและจะทำให้มีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ปวดก้น
- ปวดแก้มก้น
- ปวดร่วมกับชาร้าวลงมาทางขา
- รู้สึกร้อนวูบวาบ บริเวณก้น
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาทันทีไม่ควรปล่อยไว้นานเนื่องจากหากเป็นสะสมนานๆอาจมีอาการอ่อนแรงของขาร่วมด้วย เพราะตัวเส้นประสาทถูกบีบรัดจนไม่สามารถส่งกระแสประสาทไปสั่งงานกล้ามเนื้อได้จึงทำให้มีอาการอ่อนแรงของขาตามมาในส่วนของการรักษาการรักษาเบื้องต้น
ทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาลดอักเสบ จะได้ผลดีในช่วงแรกหากเริ่มมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อไม่มาก สามารถทานยาเพื่อลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อได
ทำไมบางคนทานยามานาน แต่อาการปวดก็ไม่ดีขึ้น
เพราะฤทธิ์ของยาจะช่วยบรรเทาอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้นหากแต่กล้ามเนื้อ piriformis ที่มีปัญหายังคงมีความตึงตัวบีบรัดเส้นประสาทอยู่ อย่างต่อเนื่องอาการปวดร้าวนี้จะยังไม่หายไป การรักษาทางกายภาพบำบัดกับเราจึงเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ
และที่ทางรีแฮปแคร์คลินิกของเรานั้นได้เลือกใช้เครื่องมือกายภาพนำเข้าจากยุโรปด้วยเทคโนโลยีลดปวดล่าสุด เพื่อแก้ปัญหาอาการปวดที่เกิดขึ้นโดยมีการใช้เครื่องมือต่างๆดังต่อไปนี้
- เครื่องช๊อกเวฟแบบโฟกัสทั้งพลังงานคลื่นกระแทกแบบดอทและแบบเส้นตรง ลงบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว
- เครื่องอัลตราซาวน์ความร้อนลึกลดปวด
- เครื่องเลเซอร์พลังงานสูงเพื่อเติมพลังงานให้เซลล์และลดการอักเสบของเส้นประสาท
- พร้อมการจัดโปรแกรมออกกำลังกายและปรับโครงสร้างร่างกายเพื่อให้หายอย่างถาวรไม่กลับมาบาดเจ็บซ้ำ
ปวดหลังร้าวลงขา
จะเป็นอาการปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงมาบริเวณสะโพก และร้าวลงมาปวดขาข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยลักษณะจะเป็นการปวดอยู่ข้างใน ไม่มีจุดที่กดเจ็บชัดเจน อาจมีอาการปวดจนขาชา และปวดจนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ในระยะแรก อาการมักจะสัมพันธ์กับท่าทาง การใช้งาน เช่น ปวดเฉพาะเมื่อนั่งนาน ยืนนาน ขับรถนาน พอได้นอนพักอาการก็จะดีขึ้น เมื่อมีการกดทับมากขึ้น อาการปวดอาจเพิ่มมากขึ้นจนปวดตลอดเวลา ปวดหลัง ปวดขามากและไม่สามารถเหยียดขาให้ตรงได้
สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา
- กล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้รับการบาดเจ็บจากการใช้งานในท่าทางซ้ำๆ หลายครั้ง หรือ อุบัติเหตุ จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดตึงร้าวลงไปที่สะโพก และปวดขาได้ แต่มักไม่มีอาการปวดขาจนขาชา หรือปวดขาจนขาอ่อนแรงร่วมด้วย
- หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น ทำให้เกิดปัญหาการกดของเส้นประสาทที่ออกมาบริเวณรูกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกส่วนนี้ไปกดทับเส้นประสาทก็จะมีอาการปวดแปล๊บร้าวลงไปที่ปลายขา โดยอาจร้าวจากหลังหรือเอวลงมาปวดขาร่วมด้วย มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด โรคนี้พบมากในวัยทำงาน
- กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากความเสื่อมตามวัย ของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีกระดูกงอกหรือเคลื่อนมาทับเส้นประสาทส่งผลให้มีปวดร้าวจนเกิดอาการปวดขาตามมา ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ
ปวดแบบไหนอันตราย ควรมาพบแพทย์โดยด่วน
เมื่อเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา มีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าอาการปวดของคุณอาจอันตรายมากกว่าที่คิด และหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยให้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน เช่น ปวดรุนแรงมากตอนกลางคืน กระดกข้อเท้าไม่ได้ มีปวดขา ขาชาและขาอ่อนแรงชัดเจน ขาลีบเล็กลง เบื่ออาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา
สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังร้าวลงขา แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ด้านการรักษามีตั้งแต่ การรับประทานยา ฉีดยาและกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันอาการปวดหลังร้าวลงขาสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย จากกล้องเอ็นโดสโคปที่ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลงกว่าเดิม ผู้ป่วยจึงเสียเลือดน้อย และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดลงและฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
ข้อมูลจาก : nationtv
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ