9 มี.ค. 2566 – นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันนี้เป็นวันไตโลก ไทยมีผู้ป่วยไตเรื้อรัง 11.6 ล้านคน โดยมากกว่า 1 แสนคนต้องล้างไต
จากรายงานของ USRDS พบว่า ไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงสุด การป้องกันทำได้ด้วยการลดบริโภคโซเดียม ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ควรรับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้อ แต่ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มบริโภคโซเดียมมากเกินไป อาจมาจากความชอบกินอาหารเค็ม ติดรสเค็ม หรือไม่รู้ส่วนประกอบของปริมาณโซเดียมในอาหาร
หากกินเค็มมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และ โรคไตเรื้อรัง
8 ประเภทอาหารที่เสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมเกินมีดังนี้
1. ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู ซอสต่าง ๆ
2. เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม
3. อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก พิซซ่า ขนมอบต่าง ๆ
4. อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว กุ้งแห้ง
5. อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง
6. ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูหยอง อาหารเติมเกลือ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้มซอง โจ๊กซอง
7. เนื้อสัตว์ติดมัน คอหมูย่าง เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่
8. ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม ขาหมู
ที่สำคัญ ควรอ่านฉลากโภชนาการ สังเกตปริมาณโซเดียมและโซเดียมแฝง เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)
ข่าวจาก : ข่าวสด
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ