22 มีนาคม นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 12/2566 (ครั้งที่ 840) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ได้มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 กรณี ได้แก่
กรณีที่ 1 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 293.60 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 6.72 บาทต่อหน่วย
กรณีที่ 2 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 105.25 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.84 บาทต่อหน่วย
กรณีที่ 3 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย
โดยรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ไปตั้งแต่วันที่ 10-20 มีนาคม 2566 นั้น
ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 15/2566 (ครั้งที่ 843) วันที่ 22 มีนาคม 2566 มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟที และได้พิจารณากรณีศึกษาการปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 โดยมีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กกพ.ได้พิจารณาหนังสือยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟฟ้า 4.77 บาทต่อหน่วย
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าไฟดังกล่าวเทียบกับงวดปัจจุบันมกราคม-เมษายน 2566 ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มครัวเรือนตรึงไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ครัวเรือน จ่าย 5.33 บาทต่อหน่วย จะพบว่า ครัวเรือนแพงขึ้น 5 สตางค์ต่อหน่วย ส่วนธุรกิจถูกลง 56 สตางค์ต่อหน่วย
ข่าวจาก : มติชน
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ