18 พฤษภาคม ที่โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ มีการจัดแถลงจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน จาก 8 พรรคร่วมรัฐบาล โดยในการแถลงข่าวในวันนี้ ได้ 8 หัวหน้าพรรคมาร่วมนั่งแถลงข่าว ได้แก่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล , นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย , นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย , ปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรคเป็นธรรม และพรรคเพื่อไทรวมพลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการแถลงข่าวนั้น นายพิธา ระบุว่า 3 ข้อ โดยว่า 1. ขอบคุณ ทุกเสียงของประชาชน 8 พรรค 313 เสียง โดยมีนายพิธา เป็นนายกฯ คนที่ 30 ของประชาชน 2.ทุกพรรคจะจัดทำข้อตกลงร่วม MOU ในการจัดตั้งรัฐบาล ทำงานร่วมกัน และจะแถลงต่อสาธารณชน 22 พฤษภาคม เพื่อแก้ไขวิกฤตทางการเมือง 3. จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเปลี่ยนผ่านรัฐบาล เตรียมความพร้อมเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน จากรัฐบาลเดิมอย่างไร้รอยต่อ
นายพิธา กล่าวตอนหนึ่งว่า ไม่กังวลคะแนนโหวต ยืนยันว่าผ่าน ตอนนี้ไม่กังวล เพราะมีโรดแมปที่ชัดเจน มีฉากทัศน์ไว้ เราได้คาดไว้หมดแล้ว ว่าจะทำอย่างไรให้การจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 2 พรรคที่ติดต่อเข้ามา เป็นคนที่ติดต่อเข้ามา กรรมการจะพิจารณาว่า จะร่วมงานกันได้ไหม ทั้งนโยบายต่างๆ อุดมการณ์ และ ทำงานเป็นทีมกันได้หรือไม่ ต้องคำนึงถึงเสถียรภาพของรัฐบาล มีคณะกรรมการที่ทำงานอยู่ และไว้วางใจกับคณะกรรมการที่ทำงานเรื่องนี้ มีการทำงานเป็นทีมเวิร์ก และมีส่วนร่วมทุกพรรคที่อยู่บนโต๊ะนี้ทุกคน วิธีชี้แจง ยังคิดว่า 313 เสียง ณ วันนี้ เป็นความปกติของประชาธิปไตยที่เพียงพอ การมานั่งคิดว่าต้องได้ 376 เสียง ยังไม่ใช่ตอนนี้ แต่เรียนแล้วว่ามีหลายฉากทัศน์ ที่คาดไม่ถึง ให้กรอบเจรจาหาตัวเลขที่สมดุล เพื่อหาความแน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล ลดวามเสี่ยง มั่นใจจัดตั้งได้แน่นอน
นอกจากนี้ นายพิธา ยังได้ตอบคำถามนักข่าวต่างประเทศ ถึงจำนวนเสียงที่นั่งในสภาที่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมไปถึง ม.112 สำหรับ นโยบาย ต้องมิติการเมือง ปากท้อง ของประชาชน ส่วนกระทรวงต่างๆ เราเอาวาระประชาชนเป็นตัวตั้ง เอานโยบายเป็นตัวตั้ง หลายๆ นโยบาย กระจายที่ดินก็ดี รวม 8 กระทรวง ต้องเอาปัญหาประชาชนเป็นตัวตั้ง และว่า กระทรวงไหนสามารถทำงานร่วมกันเป็นเอกภาพได้ องคาพยพ เดียวกัน
เมื่อถามว่า มีการพูดคุยกับพรรคเพื่อไทยเพื่อจัดกระทรวงกันแล้วหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า มีการพูดคุยกัน แต่ไม่ได้เน้นกระทรวงอะไร เน้นเรื่องวาระของทุกพรรคที่ได้หาเสียงไว้ สาเหตุที่หาเสียงไว้ เพราะวาระใกล้เคียงกัน แสวงจุดร่วม หาจุดต่าง เมื่อตกผลึกได้ เป็นเรื่องที่ปลายเหตุ เอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง ดูว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร คนที่จะมาทำงานควรเป็นอย่างไร ถ้าเอากระทรวงมาตั้ง ประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อะไร
ผู้สื่อข่าวได้ถามถึงกรณีที่มีนักร้องเข้ามาร้องประเด็นทางการเมือง นายพิธา กล่าวว่า ไม่กังวล และไม่ประมาท เข้าใจว่าการเมืองมีมิติไหนบ้าง ต้องรับให้ได้ทุกมิติ การเตรียมตัวสำคัญ เราต้องแยก ในเมื่อเป็นบุคคลสาธารณะ ต้องยอมรับการตรวจสอบ และเตรียมรับผลกระทบที่เกิดขึ้น
ขณะที่เรื่อง การโหวตของวุฒิสภานั้น นายพิธากล่าวว่า ผลโหวตวุฒิสภา ต้องขอบคุณบางท่าน การตัดสินใจของท่าน เป็นเรื่องของระบบ ประชาธิปไตย มีนิมิตหมายที่ดีพอสมควร หลังจาก 8-9 ปี สามารถเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุด
ด้าน นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเซ็นเอ็มโอยู ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม นี้ ว่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ทุกพรรคก็เห็นด้วยที่จะมีการเซ็นเอ็มโอยู และแถลงข่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม อย่างที่ทราบเพราะเป็นวันครบรอบการรัฐประหารในปี 57
ข่าวจาก : มติชน
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ