อินเดียจ่อยกเลิกแบงก์ 2,000 รูปี เหตุต้องการลดธนบัตรมูลค่าสูงในระบบเศรษฐกิจ





รัฐบาลอินเดียเตรียมยกเลิกธนบัตรที่มีมูลค่าสูงสุด หรือธนบัตร 2,000 รูปี ออกจากระบบ นักวิเคราะห์ยืนยันไม่กระทบเศรษฐกิจ แต่เพิ่มสภาพคล่องให้ธนาคารได้

  • ยกเลิกใช้ธนบัตร 2,000 รูปี เพราะธนบัตรชนิดนี้ไม่ได้นำมาใช้ทำธุรกรรมทั่วไป และรัฐบาลต้องการลดธนบัตรมูลค่าสูงในระบบ
  • ขณะนี้ธนบัตร 2,000 รูปี หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอินเดีย 3.62 ล้านล้านรูปี หรือคิดเป็น 10.8% ของเงินที่หมุนเวียนในระบบ
  • การยกเลิกใช้ธนบัตร 2,000 รูปี จะช่วยลดแรงกดดันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน (20 ธ.ค.) ระบุว่า รัฐบาลอินเดียเตรียมดึงธนบัตร 2,000 รูปี ออกจากระบบ ธนบัตรยังคงใช้ได้ตามกฎหมาย แต่ประชาชนจะต้องฝากหรือแลกเปลี่ยนธนบัตรชนิดนี้ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2566

การตัดสินใจยกเลิกธนบัตรดังกล่าว คล้ายกับความเคลื่อนไหวที่น่าตกใจเป็นอย่างมากในปี 2559 เนื่องจากรัฐบาลของนเรนทรา โมดี ยกเลิกธนบัตร 500 รูปี และ 1,000 รูปี จนทำให้เงินสดออกจากระบบเศรษฐกิจ 86% ในชั่วข้ามคืน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การนำธนบัตร 2,000 รูปีออกจากระบบครั้งนี้ สร้างความวุ่นวายน้อยกว่าครั้งก่อน เพราะผู้คนจะถอนธนบัตรที่มีมูลค่าน้อยกว่าไปใช้ในระยะยาวแทน

ธนบัตร 2,000 รูปี เริ่มใช้งานเมื่อปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มเงินในระบบเศรษฐกิจอินเดียที่เกิดการหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว หลังยกเลิกธนบัตร 500 รูปี และ 1,000 รูปี

แต่ธนาคารกลาง กล่าวว่า ยกเลิกใช้ธนบัตร 2,000 รูปี เพราะธนบัตรชนิดนี้ไม่ได้นำมาใช้ทำธุรกรรมทั่วไป และรัฐบาลต้องการลดธนบัตรมูลค่าสูงในระบบ และหยุดพิมพ์ธนบัตร 2,000 รูปีแล้ว ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่รัฐบาลและธนาคารกลางไม่ระบุเหตุผลอย่างเจาะจงว่าทำไมต้องยกเลิกช่วงนี้ แต่นักวิเคราะห์ชี้ว่า ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นก่อนการลือกตั้งทั่วไปในรัฐต่าง ๆ เพราะโดยปกติแล้ว ช่วงนี้จะมีการใช้เงินสดเพิ่มมากขึ้น

“รูปา เรจ นิตสุรี” หัวหน้ากลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ จากแอลแอนด์ที ไฟแนนซ์ โฮลดิงส์ กล่าวว่า “การดำเนินโยบายในช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่คนที่ใช้ธนบัตร 2,000 รูปีเพื่อเก็บออม อาจเกิดความไม่สะดวก”

ขณะนี้ธนบัตร 2,000 รูปี หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอินเดีย 3.62 ล้านล้านรูปี หรือคิดเป็น 10.8% ของเงินที่หมุนเวียนในระบบ

นิตสุรี กล่าวว่า “การยกเลิกใช้ธนบัตรดังกล่าว จะไม่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แต่อย่างใด เนื่องจากธนบัตรมูลค่าน้อยกว่า มีใช้งานในระบบเพียงพอ อีกทั้ง 6-7 ปีที่ผ่านมา การทำธุรกิจกรรมทางดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างมาก”

“ยุวิกา สิงหล” นักเศรษฐศาสตร์ จากควอนต์อีโค รีเสิร์ช เตือนว่า ธุรกิจขนาดเล็กและภาคส่วนที่เน้นใช้เงินสด เช่น ภาคการเษตรและการก่อสร้าง อาจเกิดความไม่สะดวกในเร็ว ๆ นี้ ผู้คนที่ถือธนบัตร 2,000 รูปี ต้องหยิบเงินออกมาใช้จ่ายดีกว่าฝากไว้ในบัญชีธนาคาร และอาจเกิดการซื้อสินค้าบางอย่างจำนวนมาก เช่น ทองคำ

การยกเลิกใช้ธนบัตร 2,000 รูปี จะทำให้ฝากเงินในธนาคารเพิ่มขึ้น

“การ์ธิก ศรีนิวาสันต์” หัวหน้าฝ่ายการจัดอันดับภาคการเงินจากบริษัทจัดอันดับองค์กร ไอซีอาร์เอ จำกัด บอกว่า “การยกเลิกใช้ธนบัตร 2,000 รูปี จะช่วยลดแรงกดดันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก”

ขณะที่ “มาธาวี อโรรา” นักเศรษฐศาสตร์ จากเอ็มเคย์ โกลบอล ไฟแนนเชียล เซอร์วิส กล่าวว่า “เมื่อธนบัตร 2,000 รูปี กลับเข้ามาในระบบธนาคาร เงินสดในระบบจะลดลง และช่วยให้สภาพคล่องธนาคารดีขึ้น”

 

ข่าวจาก : bangkokbiznews

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: