รู้เท่าไม่ถึงการณ์! ภารโรงปิดสัญญาณเตือนห้องแล็บ เหตุรำคาญ พังงานวิจัยมูลค่ากว่า35ล้าน





เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานเหตุอุกอาจในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐ เมื่อภารโรงคนหนึ่งกำลังทำความสะอาดห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยแต่เขากลับได้ยินเสียงเตือนจากดังมาจากในห้อง ทำให้เขาอารมณ์เสีย เขาจึงปิดไฟตู้แช่แข็งที่บรรจุเซลล์เพาะเลี้ยงจำนวนมากจนหยุดทำงาน เหตุนี้นักวิทยาศาสตร์เผยต้องใช้เงินอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 35 ล้านบาทเพื่อกู้คืนงานวิจัยทั้งหมด

ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น เผยว่า ทางมหาวิทยาลัยวิจัยเอกชนในเมืองทรอยได้ยื่นฟ้องบริษัททำความสะอาด หลังจากพนักงานที่ทำสัญญาจ้างงานรายหนึ่งได้ทำลายงานวิจัยที่ทำมากว่า 20 ปีเสียหายทั้งหมด ซึ่งพนักงานรายนี้ได้รับสัญญาให้ทำความสะอาดที่อาคาร Cogwell ตั้งแต่เดือนส.ค.-พ.ย. 2563

ตามข้อร้องเรียน ระบุว่า ช่องแช่แข็งต้องรักษาอุณหภูมิอยู่ที่ -80°C และหากอุณหภูมิสูงเกินไป สัญญาณเตือนจะดังขึ้น แต่ก่อนเกิดเหตุ กลไกขัดข้อง จนทำให้สัญญาณเตือนดังขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะได้รับการซ่อมแซมในอีกไม่กี่วัน แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดกลับเกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม มีป้ายเตือนติดไว้ที่ประตูตู้แช่แข็งเพื่ออธิบายสาเหตุที่เสียงเตือนยังคงดังอยู่ และวิธีปิดเสียง “ห้ามเคลื่อนย้ายหรือถอดปลั๊ก ถ้าคุณต้องการปิดเสียง สามารถกดสัญญาณเตือนค้างไว้ 5-10 วินาที” แต่ถึงมีป้ายเตือนไว้พนักงานคนดังกล่าวยังคงปิดไฟโดยตรง ทำให้อุณหภูมิของช่องแช่แข็งสูงขึ้นถึง -32°C แม้ว่าเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะพยายามเปิดสัญญาณเตือนในวันถัดมาก็ไม่สามารถรักษางานวิจัยได้ทัน

ขณะที่ทางด้านพนักงานได้กล่าวว่า เขาได้ยินเสียงเตือนดังตลอดทั้งคืน มันทำให้เขารำคาญอย่างมาก โดยเขายังยอมรับว่า เขาได้ปิดเบรกเกอร์วงจรไฟสัญญาณเตือนในห้องแล็บจริง และในตอนท้ายของการให้การ เขายังคงดูเหมือนว่าเขาไม่ได้ทำอะไรผิด สิ่งที่เขาทำไปมันถูกต้องแล้วต่างหาก

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานบริษัท Daiger Cleaning Services ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ออลบานี นิวยอร์ก กล่าวว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2563 แต่เนื้อหาของคดีความเพิ่งถูกเปิดเผยในสัปดาห์นี้ และยังไม่มีการประกาศจำนวนเงินชดเชยให้กับทางมหาวิทยาลัย

 

ข่าวจาก : ข่าวสด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: