กกต. ชุดปัจจุบัน มาจากไหน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. หนึ่งในองค์กรอิสระ ผู้ที่มีหน้าที่ในการสรรหา คัดเลือก ตัวแทนของประชาชนชาวไทย ในการเป็นผู้ควบคุม รับสมัคร คัดกรองประวัติประชาชนที่มีความสามารถ มาดำเนินการจัดการเลือกตั้ง เพื่อรวบรวมเสียงของประชาชนในการหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น มาบริหารประเทศ โดยคำนึงถึงเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริต มีความเที่ยงธรรม
โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ดำรงวาระมาแล้วทั้งสิ้น 2 สมัย ในปี 2562 และ 2566 ซึ่งกระบวนการสรรหาเกิดขึ้นในปี 2561 โดยคณะกรรมการการสรรหาที่ประกอบไปด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนจากฝ่ายการเมือง ประธานรัฐสภาฯ และองค์กรอิสระ
สำหรับคุณสมบัติหลักของการเป็น กกต. คือ ต้องไม่เป็นข้าราชการมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ดำรงตำแหน่งใด ๆ ก็ตามในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหากำไร หรือรายได้แบ่งปันกัน หรือเป็นลูกเจ้าของบุคคลใด และจะต้องไม่ประกอบวิชาชีพอิสระใด ๆ
อำนาจหน้าที่ของ กกต.
รัฐธรรมนูญปี 2560 ได้ระบุอำนาจของ กกต. ไว้ดังนี้
– กกต. มีหน้าที่ดำเนินการจัดหา และการเลือกตั้งเพื่อคัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
– กกต. มีหน้าที่ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างยุติธรรม มีหน้าที่สอบสวน และไต่สวนการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม
– กกต. สามารถระงับ ยับยั้ง แก้ไข และยกเลิกการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตในพื้นที่นั้น ๆ ได้
– กกต. สามารถระงับสิทธิของผู้สมัครเลือกตั้งได้ 1 ปี หากพบการทุจริตการเลือกตั้ง
– กกต. มีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมือง
– กกต. มีหน้าที่ และอำนาจอื่น ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายกำหนด
เงินเดือน กกต. ชุดล่าสุด
ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ของประธานและกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ 2561 ไว้ว่า
– ประธานกรรมการเลือกตั้ง : เงินเดือน 81,920 บาท เงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท รวมทั้งสิ้น 131,920 ต่อเดือน
– กรรมการการเลือกตั้ง : เงินเดือน 80,540 บาท เงินประจำตำแหน่ง 42,500 บาท รวมทั้งสิ้น 123,040 ต่อเดือน
– สวัสดิการ : รถยนต์ประจำตำแหน่งของผู้บริหารของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ข่าวจาก : kapook
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ