สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด หลังชายคนหนึ่งถูกกุ้งทิ่มนิ้วขณะล้างกุ้ง คาดว่าไม่ร้ายแรงมากนัก เพราะเป็นแผลไม่ลึก ทำให้เหตุสุดสลดเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพียง 3 วันต่อมา
ตามรายงานของเดอะ เปเปอร์ นายเซิน วัย 52 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในชนบทเสี่ยวซาน หางโจว เจ้อเจียง ประเทศจีน เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชใกล้บ้านของเขา ซึ่งในวันเกิดเหตุ นายเซินกำลังทำความสะอาดกุ้ง แต่นิ้วของเขาถูกทิ่มโดยส่วนที่แหลมคมของเปลือกกุ้งโดยไม่ตั้งใจ แต่บาดแผลไม่ลึก มีเลือดออกน้อยมาก และไม่เจ็บปวดมากนัก ครอบครัวจึงไม่ได้พาไปรักษา
อย่างไรก็ตาม หนึ่งวันต่อมา บาดแผลของนายเซินเริ่มีอาการบวมและเจ็บปวด จากนั้นนิ้วของเขาก็มีสีดำอมม่วง ในช่วงกลางคืนมีไข้, หนาวสั่น, อาเจียน และแขนซ้ายมีอาการบวมจนหนาขึ้น เมื่อโทรหาลูกชายเพื่อเล่าอาการของเขาให้ฟัง นายเซินหมดสติและล้มลงกับพื้น
หลังจากถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล แพทย์ชี้ให้เห็นว่ าไม่เพียงแต่ต้องตัดนิ้วหัวแม่มือซ้ายของนายเซินที่เป็นสีดำเท่านั้น แต่ผิวหนังของแขนซ้ายของเขายังเป็นสีดำและมีแผลพุพองสีดำปรากฏขึ้น
ดร.หลู่ หยวนเฉียง ผู้อำนวยการแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งแรกของมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง กล่าวว่า เดิมทีนายเซินต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง โดยบาดแผลที่นิ้วของเขาติดเชื้อจากเชื้อแอโรโมแนส
แพทย์กล่าวว่า ทีมแพทย์ได้ดำเนินการช่วยเหลือนายเซินทันที และเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและโรคติดเชื้อมาให้คำปรึกษา อย่างไรก็ตาม โชคร้ายยิ่งนักที่ไม่มีทางที่จะช่วยได้และอาการของนายเซินก็ยิ่งแย่ลง ในที่สุดเขาก็ประสบกับภาวะอวัยวะล้มเหลวหลายส่วน และเสียชีวิตใน 3 วันต่อมา
ทำไมบาดแผลเล็ก ๆ ถึงถึงตายได้? แพทย์กล่าวว่า เชื้อ Aeromonas veronata เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งในสกุลแอโรโมแนสที่เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ จัดเป็นเชื้อฉวยโอกาสโดยกุ้งเครย์ฟิชทำให้อาการดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
บาดแผลที่เปิดออกอาจทำให้เกิดแผลพุพอง, ผื่นผิวหนังอักเสบ, พังผืดเนื้อตาย และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง และเป็นอันตรายถึงชีวิต บาดแผลเล็ก ๆ เช่น รอยกุ้งทิ่มมักจะสร้างความสับสนและไม่ได้รับความสนใจมากพอ
แพทย์เตือนว่า สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โอกาสที่จะติดเชื้อร้ายแรงจากการถูกกุ้งเครย์ฟิชทิ่มเป็นไปได้น้อยกว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นโรคประจำตัว ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก สำหรับคนกลุ่มนี้ควรใช้มาตรการป้องกันเมื่อจัดการกับกุ้ง, กั้ง, อาหารทะเล และส่วนผสมอื่น ๆ หากถูกทิ่มหรือตำโดยไม่ได้ตั้งใจควรสังเกตอย่างใกล้ชิดและไปพบแพทย์ทันเวลาหากมีปัญหาหรือาการใด ๆ
ข้อมูลจาก : ข่าวสด
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ