4 มกราคม สื่อต่างประเทศ รายงานว่า อาลีบาบา เจ้าของ ลาซาดา ได้เริ่มปลดพนักงานรอบล่าสุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยพนักงานทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกระดับ ต่างได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกับในสิงคโปร์
โฆษกของลาซาด้าในสิงคโปร์ ไม่ยืนยันว่าพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง แต่บอกเพียงว่า เรากำลังเปลี่ยนแปลงเชิงรุก เพื่อพนักงานของเรา และวางตำแหน่งให้ตัวเองให้ดีขึ้น สำหรับวิธีการทำงานที่คล่องตัว และคล่องตัวมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในอนาคต
“การเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้เราจำเป็นต้องประเมินข้อกำหนดด้านบุคลากร และโครงสร้างการดำเนินงานของเราอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าลาซาด้า จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการรองรับธุรกิจและบุคลากรของเราในอนาคต”
ลาซาด้าดำเนินงานในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
สื่อสิงคโปร์ รายงานว่า บางคนต้องยกเลิกการลาเพื่อมาประชุมกะทันหัน เพื่อเจอกับข่าวเศร้าหลังปีใหม่ หลายคนร้องไห้ เพราะต้องเจอกับเรื่องไม่คาดคิด
พนักงานของลาซาด้า กล่าวว่า บางแผนกได้ลดกำลังคนลง โดยเแผนกหนึ่งจะต้องตัดคนออก จากประมาณ 20-30 คน เหลือพนักงานอยู่ 4-5 คน
อย่างไรก็ตาม คำถามเกี่ยวกับขอบเขตของการเลิกจ้างและเหตุผลของการเลิกจ้าง และเหตุผลของการเลิกจ้างรอบนี้ ยังไม่ได้รับคำตอบ พนักงานรายหนึ่งประเมินว่าบริษัทมีพนักงานกว่า 8,000 – 10,000 คน รวมถึงทีมโลจิสติกส์ด้วย
พนักงาน ยังเปิดเผยกับสื่อสิงคโปร์ด้วยว่า เป็นเรื่องน่างงอย่างมาก เพราะพนักงานที่มีผลงานดี รวมถึงได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ต้องถูกตัดออก และเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ว่าใครเป็นรายต่อไป
พวกเขายังกล่าวอีกว่า แพ็คเกจเงินชดเชยต่ำกว่าที่คาดไว้ และแย่กว่าบริษัทอีคอมเมิร์ชอื่นๆ ที่ถูกเลิกจ้างเมื่อปีก่อน โดย 1 ในพนักงานยังกล่าวด้วยว่า นี่เป็นการเลิกจ้างครั้งใหญ่สุดที่เจอมา
พนักงานอีกราย เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งในการประชุม 20 นาที ว่าเธอถูกเลิกจ้าง
ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม 2023 ลาซาด้า ได้ประกาศปลดพนักงานส่วนหนึ่ง ก่อนที่บริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทแม่จะลงทุนเพิ่มอีก 634 ล้านดอลลาร์สหรัฐในลาซาด้า ช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลงทุนครั้งที่ 3 ในปี 2023 ส่งผลให้ยอดรวมการลงทุนของปีดังกล่าวของอาลีบาบา ในลาซาด้า มีมูลค่ามากกว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การปลดพนักงานของ Lazada เกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นช้อปปี้ (Shopee) และ TikTok Shop ที่บุกตลาดเข้ามาเรื่อย ๆ พร้อมทั้งมีทิศทางการเติบโตของแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ