(12 ม.ค.2567) ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) อนุมัติให้ปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม กิโลกรัมละ2.50 บาท
คือปรับจาก เดิมกิโลกรัมละ 20.50 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.75 บาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนมว่ากระทรวงพาณิชย์จะรับมติมิลค์บอร์ดมาดำเนินการ
กระทรวงพาณิชย์ จะพิจารณาราคาผลิตภัณฑ์นมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนของน้ำนมดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นตามขั้นตอน
โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาจำหน่ายมายังกรมการค้าภายในโดยกรมฯจะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติราคาภายใน15 วันหลังจากที่ผู้ประกอบการยื่นขอปรับ
การปรับขึ้นราคานมจะไม่เท่ากัน แตกต่างตามสัดส่วนของการใช้น้ำนมดิบของแต่ละผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์ ทั้งนมยูเอชที นมพาสเจอไรซ์ และนมสเตอริไลซ์นมรสจืด จะปรับขึ้นราคามากที่สุด
(12 ม.ค.2567) ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) อนุมัติให้ปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม กิโลกรัมละ2.50 บาท
คือปรับจาก เดิมกิโลกรัมละ 20.50 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.75 บาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนมว่ากระทรวงพาณิชย์จะรับมติมิลค์บอร์ดมาดำเนินการ
กระทรวงพาณิชย์ จะพิจารณาราคาผลิตภัณฑ์นมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนของน้ำนมดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นตามขั้นตอน
โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาจำหน่ายมายังกรมการค้าภายในโดยกรมฯจะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติราคาภายใน15 วันหลังจากที่ผู้ประกอบการยื่นขอปรับ
การปรับขึ้นราคานมจะไม่เท่ากัน แตกต่างตามสัดส่วนของการใช้น้ำนมดิบของแต่ละผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์ ทั้งนมยูเอชที นมพาสเจอไรซ์ และนมสเตอริไลซ์นมรสจืด จะปรับขึ้นราคามากที่สุด
เนื่องจากมีสัดส่วนนมดิบ100% คาดว่าการปรับราคานมดิบ จะส่งผลกระทบทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมเฉลี่ย 40-50 สตางค์/กล่อง สำหรับขนาดมาตรฐาน บรรจุ225มิลิลิตร
ส่วนกรณีการปรับขึ้นราคา ไข่ไก่ และเนื้อหมูนั้น กรมฯจะเร่งประสานกับผู้เลี้ยงเพื่อเข้าไปช่วยดูแลเรื่องต้นทุนการผลิต และรักษาสมดุลราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์
ร้อยตรีจักรา กล่าวถึงผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบในการผลิตสินค้า กรณีกองทัพฮูติโจมตีเรือขนส่งสินค้าเส้นทางทะเลแดงว่า จากการหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และตัวแทนสายการเดินเรือ พบว่า เหตุการดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าระวางเรือที่แพงขึ้น โดยเฉพาะ วัตถุดิบปุ๋ยเคมี และเหล็ก
เหล็กยังมีแนวโน้มความต้องการใช้ในตลาดโลกในอัตราที่ต่ำ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ประสบปัญหาวิกฤติด้านอสังหาริมทรัพย์ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างชะลอตัวทำให้ปริมาณการผลิตสูงกว่าความต้องการ จึงยังไม่ส่งผลกระทบให้ราคาเหล็กในประเทศปรับเพิ่มขึ้น
ส่วนปุ๋ยเคมี ยังไม่ส่งผลกระทบต่อราคาจำหน่ายภายในเช่นกัน เนื่องจากปุ๋ยในตลาดโลกมีแนวโน้มราคาทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่สถานการณ์การใช้ยัง ทรงตัว รวมทั้งยังมีปัจจัยบวกจากราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง
ขณะนี้การนำเข้าปุ๋ยและเหล็กยังไม่มีผลกระทบด้านราคา แต่เริ่มมีผลกระทบทางด้านต้นทุนการนำเข้าแล้วจากค่าระวางที่ปรับขึ้น โดยหลังจากนี้จะต้องจับตาสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิดต่อไป
ข่าวจาก : thaipbs
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ