ขสมก. แจ้งเปลี่ยนเลขสายรถเมล์ ยิ่งแก้ ยิ่งเละ ทำคนสับสน





2 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่เดินหน้าแผนปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้โดยสารและสามารถเชื่อมโยงระบบรถโดยสารประจำทางกับระบบขนส่งสาธารณะอื่น

ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านตามแผนปฏิรูปฯจึงมอบหมายให้ กรมการขนส่งทางบกดำเนินการปรับเลขสายรถเมล์ใหม่ตามความต้องการของประชาชน โดยให้นำขีดออกและต่อท้ายด้วยวงเล็บสายรถเมล์เดิม เช่น 1-15 เปลี่ยนเป็น 115 (150 เดิม) ให้ง่ายต่อการจดจำ

ทั้งนี้ เพื่อให้หมายเลขเส้นทางเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งระบบ และมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมไม่มากนัก เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน จนกว่าประชาชนเกิดความคุ้นชิน โดยเลขสายรถเมล์ที่มีการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

สาย 53 เปลี่ยนเป็นสาย 29
สาย 29 เปลี่ยนเป็นสาย 11
สาย 11 เปลี่ยนเป็นสาย 33
สาย 33 เปลี่ยนเป็นสาย 26
สาย 26 เปลี่ยนเป็นสาย 136
สาย 136 เปลี่ยนเป็นสาย 347
สาย 52 เปลี่ยนเป็นสาย 16
สาย 16 เปลี่ยนเป็นสาย 22
สาย 22 เปลี่ยนเป็นสาย 340
สาย 520 เปลี่ยนเป็นสาย 168

สาย 168 เปลี่ยนเป็นสาย 150
สาย 150 เปลี่ยนเป็นสาย 115
สาย 115 เปลี่ยนเป็นสาย 145
สาย 145 เปลี่ยนเป็นสาย 318
สาย 59 เปลี่ยนเป็นสาย 18
สาย 18 เปลี่ยนเป็นสาย 23
สาย 23 เปลี่ยนเป็นสาย 35
สาย 35 เปลี่ยนเป็นสาย 48

สาย 48 เปลี่ยนเป็นสาย 311
สาย 2 เปลี่ยนเป็นสาย 32E
สาย 32 เปลี่ยนเป็นสาย 25
สาย 25 เปลี่ยนเป็นสาย 37E
สาย 37 เปลี่ยนเป็นสาย 49
สาย 49 เปลี่ยนเป็นสาย 243
สาย 38 เปลี่ยนเป็นสาย 38

ส่วนตัวอักษรหมายเลขสายรถ ขบ. ไม่ได้กำหนดฟอนต์ตัวอักษร เพียงขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสม โดยให้ตัวอักษรมองเห็นได้อย่างชัดเจนเท่านั้น การปฏิรูปทำให้มีผู้ประกอบการเอกชนเข้ามาขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง โดยเสนอตัวรถที่มีสภาพใหม่ สะดวกสบาย ขบ. อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรถเมล์เป็นรถที่ใช้พลังงานสะอาด เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

หากถ้าเราลองสังเกตุ สาย 53 ใช้เลขสายนี้มาตั้งแต่ปี 2513 เปลี่ยนมาเป็นสาย 29 ซึ่งเราจะเห็นสาย 29 ไปสนามหลวง แล้วสาย 29 เปลี่ยนไปใช้สาย 11 เราจะได้เห็นสาย 11 ไปวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ไม่ไปสวนหลวง ร.9 แล้ว และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายสายด้วยกันที่มีการเปลี่ยนตัวเลข ไปตรงกับตรงเลขเก่าสายอื่น เรื่องนี้อาจจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการเดินทางก็เป็นได้

หลังจากที่เรื่องราวนี้ถูกเผยแพร่ออกไป เราไปสำรวจดูความคิดเห็นในโลกออนไลน์ผ่าน เพจ รถเมล์ไทย Rotmaethai กันว่า แต่ละคนมีความอย่างไรบ้าง อาทิ ตัวอย่างของการทำงานแบบผลาญงบไปวันๆ / จะเปลี่ยนเนี่ย มันต้องมีอะไรที่ดีกว่าเดิมซี่ เช่น ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้นว่าไปไหน ต้องมีเหตุผลรองรับหน่อย แต่นี่มาแบบ จะมาก็มา / ใครชงไม่รู้ แต่ประชาชนไม่เห็นชอบแน่ๆ / ช่างเป็นผลงานของการปฏิรูปจริงๆ ไม่มีใครคิดได้แบบนี้มาก่อนเลย ช่วยสร้างภาระให้แก่ผู้โดยสารทั้งไทยและต่างชาติเป็นอย่างดียิ่ง เป็นความภาคภูมิใจที่ไทยมีผู้บริหารนักปฏิรูปในประวัติศาสตร์ที่กล้าทำในสิ่งที่คนเขาไม่ทำกันจริงๆ / คำถามคือ เปลี่ยนเพื่อ??

 

ข่าวจาก : brighttv

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: