การนอนงีบ และพักสายตา คือ การหยุดกระทำต่างๆ โดยให้ดวงตาที่อ่อนล้ามานั้นได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ‘การนอนหลับ’ ระหว่างวันในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อที่จะได้ชดเชยเวลาที่นอนไม่เพียงพอในช่วงคืนที่ผ่านมา หรือความอ่อนล้าทางสายตาให้กลับมามีชีวิตชีวาให้มากขึ้น
การงีบ และการพักสายตานั้น จะมีช่วงระยะเวลาของการนอนหลับที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมอง และร่างกาย หากสามารถพักผ่อนได้อยากถูกต้อง จะทำให้รู้สึกตื่นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความตึงเครียด ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส และระบบร่างกายจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากกระทำผิดเวลา ก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายอ่อยเพลียได้เช่นกัน
ข้อดีของการงีบ
- การงีบ สามารถทำให้เกิดการตื่นตัวของสมอง และร่างกายในการทำงานมากขึ้น
- ช่วยรักษาอาการเพลีย และโรยราต่าง ถือเป็นการชดเชยเวลานอนที่หายไปได้ดี
- เพิ่มประสิทธิภาพทำให้สมอง มีการจำได้รวดเร็วเพิ่มขึ้น
- ลดความเครียดหรือความหงุดหงิด เพราะการหลับจะช่วยลดฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียดได้
- มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
- สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากการงีบระหว่างวันจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ
ข้อเสียของการงีบ
- ทำให้ผู้มีปัญหาการนอนนั้นหลับยาก
- หากงีบไม่เป็นเวลา และมีระยะเวลานาน อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ง่ายขึ้น
- ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานระหว่างวันหากทำผิดวิธี
- การอดนอนในช่วงกลางคืน ไม่สามารถชดเชยด้วยการงีบได้
- เทคนิคการงีบ และพักสายตาระหว่างวัน
ข้อมูลของ สสส. ได้เผยถึงเคล็ดลับการงีบระหว่างวันอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ให้มีแรงใช้งานได้ตลอดวัน มีข้อมูลดังต่อไปนี้
เวลาที่เหมาะสมในการงีบพักสายตาระหว่างวันจะอยู่ที่เวลา 10-20 นาที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มพลังงาน และคืนความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองโปร่ง เพราะอยู่ในช่วง non-rapid eye movement (NREM)
หากงีบหลับเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป จะส่งผลที่ไม่เป็นผลดีกับร่างกาย เพราะจะยังคงรู้สึกง่วง มึนงง เหมือนกับนอนไม่พอ และยังคงไม่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งกว่าอาการนี้จะหายไปก็จะใช้เวลาเพิ่มอีกประมาณ 30 นาทีต่อมา
การนอนงีบหลับเป็นเวลา 60 นาที เป็นช่วงเวลาที่ส่งผลดีต่อความจำ ซึ่งเรียกว่าอยู่ในช่วง Slow-wave sleep เป็นการหลับลึกที่ยังคงความง่วง แต่สมองสามารถเสริมความจำดีไว้ได้
การนอนหลับ 90 นาที เป็นการนอนที่ครบรอบ กล่าวคือ มีหลับลึกและไม่ลึกมากนัก อาจมีการฝันบ้าง ช่วยให้อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่งัวเงียเหมือนช่วง 30-60 นาทีแรก
อย่างไรก็ตามการงีบหลับ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ช่วงกลางวัน-บ่าย อาจส่งผลดีต่อร่างกาย และสุขภาพมากที่สุด ไม่ควรงีบหลับหลังจากช่วงเย็นลงไปแล้วเพราะอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับไปช่วงกลางคืนได้ นอกจากนี้ “จากผลวิจัยพบว่าการใช้เวลางีบระหว่างวันเกินกว่า 30-45 นาที หรือการงีบช่วง 11.00 น. นอกจากจะไม่ส่งผลดีกับร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียตามมาอย่าง เช่น ทำให้ช่วงกลางคืนนอนไม่หลับ และอาจมีปัญหาสุขภาพตามมาอย่างที่กล่าวไปข้างต้นอีกด้วย”
ข้อมูลจาก : สสส.
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ