ราชกิจจาฯ ประกาศขยายเวลายื่นเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน





6 กุมภาพันธ์ 2567 เว็บไซตราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงราย และชําระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ ๒)

เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว จึงอาศัยอํานาจตามมาตรา ๓ อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร อนุมัติให้ขยายกําหนดเวลา การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชําระภาษี และการนําส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม

และภาษีธุรกิจเฉพาะ บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชี กําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี และแบบรายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีก ๘ วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลาตามที่กฎหมายกําหนด ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ขยายกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี บัญชีงบดุล บัญชีทําการ และ บัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี และแบบรายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกัน ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตามประมวลรัษฎากร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๗๐ ดังนี้

๑.๑ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

(๑) ภ.ง.ด.๙๐ ภ.ง.ด.๔๑ และ ภ.ง.ด.๙๕ ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป

(๒) ภ.ง.ด.๙๔ ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี

๑.๒ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่

(๑) ภ.ง.ด.๕๐ ภ.ง.ด.๕๒ และ ภ.ง.ด.๕๕ และบัญชีงบดุล บัญชีทําการ และบัญชีกําไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ซึ่งต้องยื่นภายใน ๑๕๐ วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน ๑๕๘ วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

(๒) ภ.ง.ด.๕๑ ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกําหนดเวลา ดังกล่าวเป็นภายใน ๒ เดือน ๘ วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรก ของรอบระยะเวลาบัญชี

(๓) ภ.ง.ด.๕๔ ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายใน ๗ วัน นับแต่วันสิ้นเดือน ของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน หรือจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย ให้ขยายกําหนดเวลา ออกไปเป็นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจําหน่ายเงินกําไร ออกไปจากประเทศไทย

๑.๓ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่

ภ.ง.ด.๑ ภ.ง.ด.๒ ภ.ง.ด.๓ และ ภ.ง.ด.๕๓ ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายใน ๗ วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ได้พึงประเมิน ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือน ที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน

๑.๔ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.๑ ก ซึ่งต้องยื่น รายการและนําส่งภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็น ภายในวันที่ 4 มีนาคมของปีถัดไป

๑.๕ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.๒ก ภ.ง.ด.3ก ซึ่งต้องยื่นรายการและนําส่งภาษีภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไป เป็นภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ของปีถัดไป

๑.๖ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

(๑) ภ.พ.๓๐ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแ ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภายใน วันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ ๒๓ ของเดือนถัดไป

(๒) ภ.พ.๓๖ ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน ๗ วัน นับแต่ วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ (กรณีการชําระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ ให้กับผู้ประกอบการตามมาตรา ๘๓/๖ แห่งประมวลรัษฎากร) ของเดือนที่ครบกําหนด ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น (กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา ๘๓/๗ แห่งประมวลรัษฎากร) หรือของเดือนที่ขายทอดตลาด (กรณีผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๓/๕ แห่งประมวลรัษฎากร) ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการของเดือนที่ครบกําหนด ๓๐วันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น หรือของเดือนที่ขายทอดตลาด แล้วแต่กรณี

๑.๗ แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ภ.ธ.๔๐ ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดง รายการภาษีภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ ๒๓ ของเดือนถัดไป

๑.๘ แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งต้องยื่นภายใน ๑๕๐ วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้ขยายกําหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน ๑๕๘ วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ข้อ ๒ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีที่จะได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ จะต้องเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติและฉบับเพิ่มเติมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติในรูปแบบของกระดาษ และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีจะไม่ได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังกล่าว

สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในกําหนดเวลาตามข้อ 1 และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบของกระดาษ ผู้มีหน้าที่ เสียภาษีหรือนําส่งภาษีจะไม่ได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ ๑ เฉพาะการยื่นแบบแสดงรายการภาษีในรูปแบบของกระดาษ

ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือ นําส่งภาษีที่ไม่ได้รับสิทธิขยายกําหนดเวลาตามข้อ ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

ข้อ ๓ กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้รับสิทธิผ่อนชําระ งวด ตามมาตรา ๖๔ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชําระภายในกําหนดเวลา ดังนี้

-งวดที่หนึ่ง ต้องชําระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภายในกําหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป

-งวดที่สอง ต้องชําระภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่หนึ่ง

-งวดที่สาม ต้องชําระภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชําระงวดที่สอง

หากไม่ชําระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนําส่งภาษีหมดสิทธิที่จะชําระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา ๒๗ แห่งประมวลรัษฎากร สําหรับงวดที่ไม่ชําระและงวดต่อ ๆ ไป โดยคํานวณเงินเพิ่มตั้งแต่พ้นกําหนดเวลาการยื่นแบบแสดง รายการภาษีที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปนั้นจนถึงวันชําระ

ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗

เศรษฐา ทวีสิน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: