ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดรับสมัคร การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
โดยประกาศรับสมัครคัดเลือกระหว่างวันที่ 14 – 20 มีนาคม โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กลั่นกรองความเหมาะสม ระหว่างวันที่ 21 – 23 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกที่ผ่านการคัดกรองความเหมาะสมเบื้องต้น ภายในวันที่ 26 มีนาคม
ประเมินผลงาน ระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 2 เมษายน ประกาศผลคัดเลือก ภายในวันที่ 11 เมษายนนั้น
สำหรับตำแหน่งศึกษานิเทศก์นั้น ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ คือ จะต้องเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตร 30 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547
ทั้งงนี้ ต้องมีคณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ดังนี้ 1.มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ 2.ดำรง หรือ เคยดำรงตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1.ตำแหน่งครู ที่มีวิทยาฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ และ 2.ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
ซึ่งวันนี้ (20 มีนาคม) ถือเป็นวันสุดท้ายของการสมัคร กลับพบว่า หลายเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ไม่มีผู้เข้ามาสมัครในตำแหน่งนี้เลย
จนล่าสุดทางเพจ “ครูวันดี” โพสต์ข้อความระบุว่า
“ยอดสมัคร ศน. หลายเขต ไร้ผู้สมัคร😮 #สะท้อนปัญหาอะไร”
หลังจากโพสต์ไปไม่นาน มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น และสะท้อนปัญหาดังกล่าว จำนวนมาก เช่น
- “ภาระการทำงานเครียดเกินไป ความก้าวหน้าน้อย การพัฒนางานต้องผูกติดกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรอื่น ถ้าเจอผู้บริหารและครูที่มีอุดมการณ์ไปในทิศทางเดียวกันเหมือนกับถูกล็อตเตอรี่ แต่มันไม่มาด้วยกันสักที”
- “ตอนแรกมีความคิดที่อยากจะเป็น ศน. เมื่อพบเจอเหตุการณ์ซ้ำไปซ้ำมาที่ทำให้คิด เป็นครูได้ใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาเด็ก พัฒนาตัวเอง อย่างแท้จริงมากกว่าค่ะ”
- “สังคมยุคใหม่แล้วครับต้องมาสอนหนังสือพัฒนานักเรียนและหน้าที่อื่นภายในโรงเรียนฯลฯ..ครับ”
- “มีเพื่อนเชียร์ให้ไปสมัครสอบ ศน. เราก็เกิดคำถามว่า ครู กับ ศน. ใครมีความสุขกว่ากัน?”
- “เดินทางบ่อย อบรมบ่อย คงเหนื่อยครับ”
- “เป็นครูอยู่กับเด็กมีความสุขแล้วค่ะ ถ้าไม่เจอเพื่อนร่วมงานแย่ๆยิ่งมีความสุขค่ะ”
- “ด้วยความเคารพครับ ศน.ตัวสรรหางานนอกเลย”
- “งานมันล้นมือค่ะ”
- “งานเหนื่อย”
- “สะท้อนว่าไม่ต้องมี ศน.ก็ได้”
- “ตำแหน่งที่เพิ่มภาระให้ครู แค่ได้ยินก็เบื่อหน่ายแล้วครับ จะไปเป็นให้คนเขาเบื่อทำ”
ข่าวจาก : มติชน
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ