กฎใหม่พนักงาน ห้ามขาด-หยุด-ลาคลอด ฝ่าฝืนหักเงิน





กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ทันที เมื่อเฟซบุ๊ก “อีซ้อขยี้ข่าว” โพสต์เรื่องราวกฎใหม่ของพนักงานบริษัท ซึ่งอ้างว่านำมาจากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งแถวสมุทรปราการ โดยระบุข้อความว่า “แบบนี้ได้ด้วยหรอ…บริษัทขนส่งออกกฎพนักงานใหม่ ห้ามขาด ห้ามหยุด ห้ามลาคลอด ฝ่าฝืนหักเงิน…สมุทรปราการ” หลังโพสตดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้ชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลามมากกว่า 1.4 พันครั้ง (ถึงวันที่ 22 มี.ค.67)

เมื่อวันที่ 21 มี.ค.67 เฟซบุ๊กชื่อดัง “อีซ้อขยี้ข่าว” ได้โพสต์เรื่องราวกฎใหม่ของพนักงานบริษัท ซึ่งอ้างว่านำมาจากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งแถวสมุทรปราการ โดยมีการลงภาพพร้อมรายละเอียดของกฎใหม่ไว้ 2 ตำแหน่งงาน ซึ่งระบุไว้ดังนี้

ตำแหน่งงานแรก

  • ขาดงาน ลากิจ หักวันละ 400 บาท
  • ขาดงาน ลากิจ ครึ่งวัน หักวันละ 200 บาท
  • ไม่เช็กอิน/เช็กเอ๊าท์ หัก 200 บาท/ครั้ง
  • ลาป่วยไม่หักเงินได้ 2 วัน /เดือน หยุดติดกัน 2 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์ หากไม่มีจะปรับเป็นลากิจทั่วไป
  • รางวัลพิเศษอื่น ๆ  (ถ้ามี)
  • ไม่มีลาพักร้อน ไม่มีเงินค่าโอที ไม่มีลากิจจำเป็น
  • ไม่มีลาคลอด ไม่มีหยุดนักขัตฤกษ์
  • ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน = วันหยุด 4 วัน/เดือน

ตำแหน่งงานที่สอง

  • ขาดงาน ลากิจ หักตามเงินได้ หาร 30-31 วัน
  • ขาดงาน ลากิจ ครึ่งวัน หักตามเงินได้ หาร 30-31 วัน หาร 2
  • ไม่เช็กอิน/เช็กเอ๊าท์ หักตามเงินได้ หาร 30-31 วัน หาร 2
  • ลาป่วยไม่หักเงินได้ 2 วัน /เดือน หยุดติดกัน 2 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์ หากไม่มีจะปรับเป็นลากิจทั่วไป
  • รางวัลพิเศษอื่น ๆ  (ถ้ามี)
  • ไม่มีลาพักร้อน ไม่มีเงินค่าโอที ไม่มีลากิจจำเป็น
  • ไม่มีลาคลอด ไม่มีหยุดนักขัตฤกษ์
  • ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน = วันหยุด 4 วัน/เดือน

หลังโพสตดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปทำให้มีชาวเน็ตต่างเข้ามากดถูกใจถึง 1.1 หมื่นครั้ง มีการกดแชร์กว่า 1 พันครั้ง และร่วมแสดงดวามคิดเห็นมากกว่า 1.4 พันครั้ง (ถึงวันที่ 22 มี.ค.67) โดยคอมเมนต์ส่วนใหญ่ต่างถามหาความถูกต้องว่ากฎใหม่เช่นนี้ขัดกับกฎหมายแรงงานหรือไม่ บางความเห็นบอกว่าเป็นกฎที่โหดเกินไปสำหรับพนักงานหนึ่งคน และบางคนก็บอกว่าหลายบริษัทกำลังใช้กฎพนักงานในลักษณะนี้อยู่เช่นกัน

 

ข่าวจาก : PPTV Online

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: