ราชกิจจาฯ เผยแพร่กฎกระทรวง เพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลให้นายจ้างจ่าย กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย





ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนที่ 23 ก หน้า 1 ลงวันที่ 25 เมษายน 2567 เผยแพร่ กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 และมาตรา 13 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ให้ยกลิกความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงค่รักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ที่ระบุว่า “ข้อ 2 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท”

 

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 65,000 บาท”

 

ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 ที่ระบุว่า “(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ”

 

ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะ”

 

ข้อ 3 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายและเจ็บป่วยอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังคงรักษาพยาบาลอยู่จนถึงวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

 

สำหรับเหตุผลในการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยที่อัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย และปรับปรุงลักษณะของการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่จะดั้รบค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมและครอบคลุมวิธีการรักษา กรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยในลักษณะบาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะที่มีความหลากหลาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: