กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัย วันนี้ (6 ตุลาคม 2567) โดยประเมินสถานการณ์ระยะ 24 ชั่วโมง ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ในหลาย ๆ จังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง แบ่งเป็นรายภาค ดังนี้
ภาคกลาง
เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง 29 อำเภอใน 8 จังหวัด ภายหลังกรมชลประทาน แจ้งว่า จะระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา 2,200 ลบ.ม./วินาที เวลา 11.00 น. วันนี้ (6 ต.ค.67) ประกอบด้วย
- สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ สองพี่น้อง เดิมบางนางบวช บางปลาม้า ด่านช้าง หนองหญ้าไซ ศรีประจันต์ สามซุก)
- ชัยนาท (อ.สรรพยา)
- สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี พรหมบุรี)
- อ่างทอง (อ.เมืองฯ วิเศษชัยชาญ ไชโย ป่าโมก)
- พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา บางบาล ผักไห่ บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะหัน)
- ปทุมธานี (อ.เมือง สามโคก)
- นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด)
- นครปฐม (อ.บางเลน นครชัยศรี)
ภาคเหนือ
เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง 42 อำเภอใน 11 จังหวัด ประกอบด้วย
- แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ)
- เชียงใหม่ (อ.แม่แตง แม่ริม สันทราย หางดง สันป่าตอง แม่วาง ดอยหล่อ จอมทอง ฮอด)
- เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย แม่ลาว เวียงป่าเป้า เวียงชัย เชียงแสน)
- ลำพูน (อ.เมืองฯ ลี้ บ้านโฮ่ง ป่าซาง เวียงหนองล่อง)
- ลำปาง (อ.แจ้ห่ม งาว แม่พริก)
- พะเยา (อ.แม่ใจ)
- ตาก (อ.สามเงา บ้านตาก)
- สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง สวรรคโลก)
- พิษณุโลก (อ.เมืองฯ บางระกำ พรหมพิราม นครไทย วังทอง บางกระทุ่ม วัดโบสถ์)
- เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ น้ำหนาว หนองไผ่ วิเชียรบุรี)
- นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง 27 อำเภอใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย
- อุดรธานี (อ.เมืองฯ สร้างคอม)
- ชัยภูมิ (อ.คอนสวรรค์ จัตุรัส หนองบัวระเหว)
- ขอนแก่น (อ.ชุมแพ)
- มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เชียงยืน นาเชือก)
- กาฬสินธุ์ (อ.ยางตลาด หนองกุงศรี ท่าคันโท สหัสขันธ์ ฆ้องชัย)
- ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร)
- นครราชสีมา (อ.เมืองฯ โชคชัย จักราช ขามสะแกแสง)
- บุรีรัมย์ (อ.นางรอง ชำนิ หนองกี่)
- ศรีสะเกษ (อ.ห้วยทับทัน)
- อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ สว่างวีระวงศ์)
นอกจากนี้ ปภ. ยังแจ้งเตือนน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้นในพื้นที่ภาคใต้ อีก 3 จังหวัด ประกอบด้วย สงขลา (อ.นาทวี สะบ้าย้อย) ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) และยะลา (อ.ยะหา กาบัง)
ทั้งนี้ได้กำหนดข้อปฏิบัติในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฝ้าระวังติดตามข้อมูลข่าวสารและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ ระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณน้ำท่วม ระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านทาง และควรงดการท่องเที่ยวในพื้นที่ถ้ำและน้ำตก
ข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ