เงินช่วยชาวนา ไร่ละ 500 ล่าสุด! ตรวจสถานะง่ายๆ แค่ใช้บัตรประชาชน





เงินช่วยชาวนา ไร่ละ 500 บาท หรือ มาตรการสนับสนุนค่าเก็บเกี่ยวข้าว อัตราช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ วงเงินรวม 27,550.96 ล้านบาท ได้รับการอนุมัติจากคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตเป็นที่เรียบร้อย

โดย ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม.สัญจร เชียงใหม่ 29 พ.ย. 2567

รายละเอียดโครงการช่วยเหลือชาวนา ปี 2567/68

  • วงเงินช่วยเหลือรวม 27,550.96 ล้านบาท
  • อัตราช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท
  • จำกัดไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน
  • ครอบคลุมชาวนาทั่วประเทศกว่า 4.6 ล้านครัวเรือน

วิธีช็คสถานะทะเบียนเกษตรกร

  • เข้าไปที่ทะเบียนเกษตรกรออนไลน์ คลิกที่นี่
  • กรอหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  • กรอกรหัสหลังบัตรประชาชน
  • หมายเลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน 12 หลัก (พิมพ์ติดกันไม่ต้องใส่ “-“) เช่น JT1234567890 หลักที่ 1-2 เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และหลักที่ 3-12 เป็นตัวเลข

วิธีเช็คเงินช่วยเหลือชาวนาด้วยเลขบัตรประชาชน

ตรวจสอบสถานะการโอเงินได้ 3 ช่องทาง:

1. แอปพลิเคชัน BAAC Mobile

2. บริการ BAAC Connect ผ่าน Line: BAAC Family

3. เว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com/ (กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก) คลิกที่นี่

ที่มาของโครงการ

โครงการนี้เกิดขึ้นหลังจากการยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เนื่องจาก:

  • ล่วงเลยระยะเวลาการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
  • 72.20% ของเกษตรกรอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว
  • ความต้องการเร่งด่วนในการช่วยเหลือชาวนา

โครงการเสริมผ่านศูนย์ข้าวชุมชน

นอกจากเงินช่วยเหลือโดยตรง ยังมีการสนับสนุนผ่านศูนย์ข้าวชุมชน 543 ศูนย์:

1. โครงการศูนย์รวบรวมผลผลิตและกระจายสินค้าข้าว

2. โครงการสนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร

วงเงินรวม 2,428.1830 ล้านบาท

ขั้นตอนต่อไป

1. เสนอ นบข. พิจารณาให้ความเห็นชอบ

2. นำเข้าที่ประชุม ครม.สัญจร จ.เชียงใหม่ วันที่ 29 พ.ย. 2567

3. เริ่มดำเนินการจ่ายเงินหลังได้รับการอนุมัติ

มาตรการเสริมเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าว

  • เป้าหมายรวม 8.50 ล้านตัน
  • วงเงินรวม 60,085.01 ล้านบาท

ประกอบด้วย 3 โครงการหลัก:

  1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี
  2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม
  3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าว

 

ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: