26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเนสโก 2014 (ตอนที่1)





26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเนสโก 2014 (ตอนที่1)

26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ

Eduzones นำข้อมูลการขึ้นทะเบียน 26 มรดกโลกแห่งใหม่มาฝากกันค่ะ โดยเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. คณะกรรมการมรดกโลกของ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สิ้นสุดการประชุมครั้งที่ 38 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ และได้บรรจุสถานที่แห่งใหม่ 26 แห่ง เข้าสู่บัญชีมรดกโลก ทำให้ปัจจุบันสถานที่ที่เป็นมรดกโลกของยูเนสโกมีทั้งสิ้น 1,007 แห่ง ใน 161 ประเทศแล้ว (ขอบคุณข้อมูลจากไทยรัฐออนไลน์)

และต่อไปนี้คือมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดประจำปี 2014 นี้

1. ป้อมปราการแห่งเออร์บิล (อิรัก)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
กำแพงป้อมปราการแห่งเออร์บิล

ป้อมปราการแห่งเออร์บิล หรือ เออร์บิล ซิทาเดล เป็นป้อมปราการที่ตั้งอยู่บนเนินรูปไข่ขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากสิ่งปลูกสร้างของคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ในแต่ละยุคสร้างทับถมกัน ณ จุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ตั้งอยู่ในจังหวัด เออร์บิล ในเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน พื้นที่ส่วนหน้าของกำแพงสูงยังแสดงให้เห็นทัศนียภาพอันน่าประทับใจของปราการที่ไม่อาจทำลายได้ ที่คอยปกป้องเมืองเออร์บิลเอาไว้

โครงสร้างของป้อมปราการแห่งนี้มีลักษณะคล้ายพัด อายุต้องย้อนกลับไปในช่วงยุคปลายของอาณาจักรออตโตมัน จากบันทึกในประวัติศาสตร์ เมืองเออร์บิลมีความเกี่ยวข้องกับเมืองโบราณ อาร์เบลา ศูนย์กลางทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญของอาณาจักรอัสซีเรีย ขณะที่การค้นพบและการสืบค้นทางโบราณคดีพบว่า เนินแห่งนี้ซุกซ่อนชั้นและส่วนที่เหลือของถิ่นฐานในยุคก่อนๆ ด้วย

2. โรงทอผ้าโทมิโอกะ (ญี่ปุ่น)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
โรงทอผ้าโทมิโอกะ

โรงทอผ้าโทมิโอกะ ตั้งอยู่ในจังหวัดกุนมะ ทางเหนือของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถูกสร้างขึ้นในปี 1872 โดยรัฐบาลญี่ปุ่น และใช้เครื่องจักรที่นำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส โรงทอผ้าแห่งนี้ประกอบด้วยสถานที่ 4 แห่ง ซึ่งแยกการผลิตไหมดิบในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจนคือ ฟาร์มทดลองสำหรับการผลิตรังไหม, โรงเย็นสำหรับเก็บไข่หนอนไหม, โรงงานสำหรับการม้วนรังไหมและปั่นไหมดิบ และโรงเรียนสำหรับให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงหนอนไหม

สถานที่แห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของความมุ่งหมายของญี่ปุ่น ในการพัฒนาเทคนิคการผลิตไหมในปริมาณมาก และกลายเป็นองค์ประกอบการฟื้นฟูการเลี้ยงหนอนไหมและอุตสาหกรรมผ้าไหมญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคศตวรรษที่ 19 สถานที่แห่งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และขับเคลื่อนให้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ส่งออกไหมดิบชั้นนำของโลก ไม่แพ้ฝรั่งเศสและอิตาลี

3. โรงงาน ฟาน เนล (เนเธอร์แลนด์)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
โรงงาน ฟาน เนล

โรงงาน ฟาน เนล หรือ ฟาน เนลฟาบรีค ออกแบบและสร้างขึ้นในยุคปี 1920 ริมแม่น้ำชี ในเขตนิคมอุตสาหกรรม สแปนส์ โปลเดอร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครรอตเทอร์ดาม โรงงาน ฟาน เนลฟาบรีค เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมและสถานปัตยกรรมในศตวรรษที่ 20 เป็นอาคารขนาดใหญ่ประกอบด้วยโรงงานหลายโรงอยู่ภายใน พื้นที่ส่วนหน้าของอาคารเป็นเหล็กและกระจก

โรงงานแห่งนี้ถูกเรียกว่าเป็นโรงงานในอุดมคติ การทำงานภายในมีอุปกรณ์ครบครัน สามารถรับแสงอาทิตย์สร้างสภาพการทำงานที่ดี เป็นส่วนผสมของโรงงานรูปแบบใหม่ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของค่านิยมของความทันสมัยและความอเนกประสงค์ในยุคสงครามภายใน และผ่านประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมและการค้าอันยาวนานของเนเธอร์แลนด์ ในสนามการแปรรูปอาหารจากชาติเขตร้อน และอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูปในตลาดยุโรป

4. เมืองโบราณ เจดดาห์ ประตูสู่เมกกะ (ซาอุดีอาระเบีย)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
เมืองโบราณ เจดดาห์

เมืองเจดดาห์ ซึ่งถูกเรียกขานว่าเป็นประตูสู่เมกกะ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของทะเลแดง ก่อตั้งขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 7 ในฐานะเมืองท่าขนาดใหญ่สำหรับเป็นเส้นทางการค้าขายในมหาสมุทรอินเดีย และเป็นช่องทางลำเลียงสินค้าสู่เมืองเมกกะ นอกจากนี้เมืองเจดดาห์ยังเป็นเหมือนประตูสู่เมืองเมกกะสำหรับผู้แสวงบุญชาวมุสลิมที่เดินทางมาทางทะเล

ด้วยบทบาททั้งสองนี้ ทำให้เมืองเจดดาห์พัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองที่มีหลายวัฒนธรรมและเฟื่องฟู มีลักษณะพิเศษด้วยสถาปัตยกรรมแบบเฉพาะตัว รวมถึงมีบ้านหอคอยซึ่งสร้างในยุคศตวรรษที่ 19 โดยพ่อค้าที่ร่ำรวย และการผสมผสานธรรมเนียมการสร้างบ้านด้วยหินปะการัง เข้ากับแนวคิดและงานศิลปะที่ได้จากการค้าขาย

5. ถนนกาห์ปัคนาน (อาร์เจนตินา, โบลิเวีย, ชิลี, โคลอมเบีย, เอกวาดอร์, เปรู)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
ถนนกาห์ปัคนาน

ถนนกาห์ปัคนานเป็นเครือข่ายถนนเพื่อการคมนาคม, การค้าและการป้องกันอันกว้างใหญ่ของอาณาจักรอินคาในอดีต มีความยาวกว่า 30,000 กม. สร้างขึ้นโดยชาวอินคาตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษ และบางส่วนก่อสร้างขึ้นในยุคก่อนอินคาเสียอีก เส้นทางสายนี้เป็นหนึ่งในเส้นทางที่มีสภาพภูมิประเทศหฤโหดที่สุดในโลก เนื่องจากเชื่อมต่อกับยอดเขาสูงของเทือกเขาแอนดีส ที่มีความสูงมากกว่า 6,000 ม. ไปจนถึงพื้นที่ชายฝั่ง ตัดผ่านป่าฝนเขตร้อน, หุบเขาหลายลูก และทะเลทรายอันเวิ้งว้าง

ถนนกาห์ปัคนานขยายออกจนถึงขีนสุดในศตวรรษที่ 15 เมื่อมันพาดผ่านความยาวและความกว้างของเทือกเขาแอนดีส สถานที่แห่งนี้ถูกเลือกเป็นมรดกโลก เพื่อเน้นให้เห็นความสำเร็จทางสังคม, การปกครอง, สถาปัตยกรรม และวิศวกรรม รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการค้า, การปรับตัว และเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา

6. การอแล็งเฌียงเวสต์วูดและซิวิตัส กอร์เวย์ (เยอรมนี)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
โบสถ์ใหญ่แห่งกอร์เวย์

เรียกอีกอย่างว่า โบสถ์ใหญ่แห่งกอร์เวย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเวเซอร์ ชานเมืองเฮิร์กสตา ถูกสร้างขึ้นระหว่างปีค.ศ. 822-885 โบสถ์เวสต์เวิร์คฯเป็นสิ่งปลูกสร้างในยุคราชวงศ์การอแล็งเฌียงเพียงแห่งเดียวที่ยังตั้งตระหง่านอยู่จนถึงทุกวันนี้ ขณะที่อาคารดั้งเดิมได้รับการอนุรักษ์ไว้ในฐานะโบราณสถานซึ่งมีการขุดค้นเพียงบางส่วนเท่านั้น โบสถ์แห่งนี้แสดงให้เห็นอย่างเป็นเอกลักษณ์ว่า เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมการอแล็งเฌียงที่มีความสำคัญที่สุด นับเป็นผลงานสร้างสรรค์อย่างแท้จริงสำหรับยุคนี้ และการแสดงออกเชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงบทบาททางศาสนาและการปกครองของมันในจักรวรรดิแฟรงกิช

7. นัมฮันซันซอง (เกาหลีใต้)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
นัมฮันซันซอง

เป็นเมืองที่ในอดีตถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นเมืองหลวงสำหรับกรณีฉุกเฉินของราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1392-1910) ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาห่างจากกรุงโซลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 25 กม. มันถูกสร้างขึ้นและได้รับการปกป้องโดยพระสงฆ์ สามารถรองรับคนได้ถึง 4,000 คนและสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดการบริหารบ้านเมืองและการทหารในเรื่องที่สำคัญได้ นัมฮันซันซองมีส่วนที่หลงเหลือมาจากยุคศตวรรษที่ 7 แต่ถูกสร้างขึ้นใหม่หลายต่อหลายครั้งโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 17 ในช่วงการบุกโจมตีของราชวงศ์แมนจูของจีน

เมืองนี้เป็นการรวมแนวคิดด้านวิศวกรรมของกองทัพในยุคนั้นเข้าด้วยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งจีนและญี่ปุ่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในศิลปะของการสร้างป้อมปราการ จากการเข้ามาของอาวุธที่ใช้ดินปืนจากชาติตะวันตก นัมฮันซันซองเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยทุกยุคสมัย และเคยเป็นเมืองเอกมาเป็นระยะเวลานาน จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายอย่างทั้งด้านการทหาร, พลเมือง และศาสนา จนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอธิปไตยของเกาหลีใต้

8. แกรนด์ คาแนล (จีน)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
แกรนด์ คาแนล

คลองใหญ่ แกรนด์ คาแนล เป็นระบบเส้นทางน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางของภาคตะวันออกของประเทศจีน พาดผ่านตั้งแต่กรุงปักกิ่งในภาคเหนือไปจนถึงมณฑลเจ้อเจียงในภาคใต้ การก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาลเป็นต้นมา และถูกใช้เพื่อเป็นเส้นทางการสื่อสารเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 7 (สมัยราชวงศ์สุย) ซึ่งนำไปสู่การก่อสร้างขนานใหญ่ จนกลายเป็นโครงการวิศวกรรมพลเรือนที่ใหญ่และขยายออกกว้างใกล้ที่สุดในโลกก่อนถึงยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

แกรนด์ คาแนล กลายเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของระบบการสื่อสาร, การขนส่งเมล็ดข้าวและวัตถุดิบสำคัญทางยุทธศาสตร์ รวมถึงเสบียงอาหารแก่ประชาชนในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยในศตวรรษที่ 13 แกรนด์ คาแนล ถูกพัฒนาจนมีความยาวโดยรวมมากกว่า 2,000 กม. เชื่อมต่อกับแม่น้ำสำคัญของจีน 5 สาย มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับความรุ่งเรืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศจนถึงทุกวันนี้

9. เส้นทางสายไหม เส้นทางฉางอาน-เทียนซาน (จีน, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
เส้นทางสายไหม ฉางอาน-เทียนซาน

เส้นทางฉางอาน-เทียนซาน เป็นทางสายไหมในช่วงเริ่มต้น มีความยาว 5,000 กม. ตั้งแต่เมืองฉางอานหรือเมืองลั่วหยาง เมืองหลวงของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นและถัง ไปจนถึงภูมิภาคเซ็ตติซู ในเอเชียกลาง (ปัจจุบันคือภาคตะวันออกเฉียงใต้ของคาซัคสถาน) มันถูกสร้างขึ้นในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงศตวรรษที่ 1 และถูกใช้เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 16 ถนนสายนี้เชื่อมต่อกับหลายอารยธรรมในหลายประเทศและสถานที่ และทำให้การค้าขายกับดินแดนห่างไกลสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนา, ความรู้ทางวิทยาศาสตร์, นวัตกรรม, วัฒนธรรมและศิลปะด้วย

10. รานี-คี-วาฟ (อินเดีย)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
รานี-คี-วาฟ

รานี-คี-วาฟ หรือ บ่อน้ำของราชินี ตั้งอยู่ในเมืองปาตัน รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ใกล้แม่น้ำสาระสวาตี ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่กษัตริย์พิมเทพที่ 1 (Bhimdev I) แห่งราชวงศ์โสลันกี ในศตวรรษที่ 11 บ่อน้ำแห่งนี้เป็นระบบกักเก็บและแหล่งน้ำใต้ดินที่มีลักษณะโดดเด่น มันค่อยๆ ถูกพัฒนามาตลอดตั้งแต่ยุค 3,000 ปีก่อนคริสตกาล จากตาน้ำใต้ดินจนกลายเป็นงานศิลป์และสถาปัตยกรรมที่มีความสูงหลายชั้น ในรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์ มารุ-คุชรา สะท้อนให้เห็นความเชี่ยวชาญและความงดงามของรายละเอียดและสัดส่วน รานี-คี-วาฟ แบ่งออกเป็น 7 ชั้น ประกอบด้วยประติมากรรมมากกว่า 500 ชิ้น และภาพทางศาสนาและเทพเจ้ารวมกกว่าพันชิ้น ขณะที่บ่อน้ำตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของรานี-คี-วาฟ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ม. และลึกถึง 30 ม.

11. กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู (พม่า)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
เมืองหะลิน หนึ่งในกลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู

กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู ซึ่งรวมไปถึงอิฐ 3 ก้อน, กำแพงและคูน้ำรอบเมืองที่ เมืองหะลิน, มองกะโม้ และศรีเกษตร ตั้งอยู่ในบริเวณส่วนแห้งของลุ่มน้ำอิรวดี เมืองเหล่านี้สะท้อนให้เห็นอาณาจักรพยูที่เคยรุ่งเรืองนานกว่า 1,000 ปีระหว่างยุค 200 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 900 เมืองทั้งสามเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดี โดยมีการค้นพบส่วนของป้อมปราการราชวัง, ลานที่ถูกฝัง รวมถึงสถูปอิฐของพุทธศาสนา, กำแพงอิฐและระบบจัดการน้ำ ซึ่งบางส่วนยังใช้อยู่

12. ภาพวาดผนังถ้ำโชเวต์ (ฝรั่งเศส)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
หนึ่งในภาพเขียนผนังถ้ำโชเวต์

ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำอาร์แด็ช ประเทศฝรั่งเศส เป็นภาพผนังถ้ำที่ถูกรักษาไว้ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุย้อนไปถึงยุคออริงเนเชียน (Aurignacian) หรือ 30,000-32,000 ก่อนคริสตกาล ซึ่งทำให้มันเป็นหลักฐานของศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ชั้นยอด ถ้ำแห่งนี้ถูกปิดเนื่องจากหินถล่มเมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล และปิดอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งมันถูกค้นพบในปี 1994 ทำให้ถ้ำแห่งนี้อยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

ภายในถ้ำประกอบไปด้วยภาพเขียนที่ยังหลงเหลืออยู่บนกำแพงมากกว่า 1,000 ภาพ ส่วนใหญ่เป็นภาพของมนุษย์และสัตว์ ภาพยังแสดงให้เห็นเทคนิค, ทักษะการใช้สี, การผสมผสานระหว่างการวาดและการแกะลาย, ความเที่ยงตรงทางกายวิภาค และการเขียนภาพ 3 มิติและภาพเคลื่อนไหว และมีภาพสัตว์อันตรายที่ยากต่อการเก็บข้อมูลอยู่ด้วย เช่นช้างแมมมอธ, หมี, แมวป่า, แรด, กระทิงไบซัน และวัวป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตก่อนประวัติศาสตร์รวมถึงรอยเท้ามนุษย์โบราณจำนวนมากด้วย

13. ชาร์-อี-ซุกห์ตา (อิหร่าน)
26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเ
ประตูเมือง ชาร์-อี-ซุกห์ตา

ชาร์-อี-ซุกห์ตา แปลว่าเมืองที่ถูกเผาผลาญ ตั้งอยู่ที่จังหวัดซิสถานและบาลูคิสถาน ในภาคใต้ของอิหร่าน ติดแม่น้ำเฮลมานด์ ถูกค้นพบในช่วงต้นยุคปี 1900 จากหลักฐานพบว่าเมืองนี้มีอายุย้อนไป 3,200 ปีก่อนคริสตกาล มีขนาด 151 เอเคอร์ นับเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สุดในโลกในยุคทองแดง ชาร์-อี-ซุกห์ตา ได้รับชื่อนี้เนื่องจากมันถูกเผาทำลายถึง 3 ครั้งก่อนจะถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงเมื่อ 2,100 ปีก่อนคริสตกาล

เหตุผลที่ทำให้เมืองนี้รุ่งเรืองและล่มสลายอย่างคาดไม่ถึง ยังคงเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้ ขณะที่สิ่งของที่ขุดค้นพบในเมืองแห่งนี้ มีลักษณะเฉพาะของอารยธรรมในภูมิภาคใกล้เคียงในสมัยนั้น ชาร์-อี-ซุกห์ตา จึงอาจเป็นมีหลักฐานสำคัญที่ทำให้ทราบถึงอารยธรรมในภาคตะวันออกของเปอร์เซียยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งแยกตัวเป็นอิสระจากดินแดนเมโสโปเตเมียโบราณ

ได้ชมความอัศจรรย์ของมรดกโลก 13 แห่งกันไปแล้วนะคะ ติดตาม 26 มรดกโลกแห่งใหม่ของยูเนสโก 2014 (ตอนจบ) ได้ที่นี่ ค่ะ

นำเสนอโดย EDUZONES KNOWLEDGE
ข้อมูล และ ภาพ : ไทยรัฐออนไลน์ 27 มิ.ย. 2557
ค้นหา ความรู้ทั่วโลก เพิ่มเติม ที่ > EDUZONES KNOWLEDGE สาระน่ารู้ ความรู้รอบตัวทั่วโลก

ภาพประทับใจ ชาวญี่ปุ่นร่

 เรื่องก่อนหน้า : สุนัขแสนรู้ญี่ปุ่นฮีโร่ช่วยเด็กรอดกรงเล็บหมีป่า
เรื่องถัดไป : เยาวชนไทยติดเกมส์ออนไลน์ อันดับ 1 ของเอเชีย – ข้อมูลผลเสียจากการติดเกม

ภาพประทับใจ ชาวญี่ปุ่นร่

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: