สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะทำการเปิดรับสมัครนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) ประจำปี พ.ศ. 2557 เปิดรับจำนวน 5,700 อัตรา โดยรับสมัคร สายป้องกันปราบปราม (ปป.) จำนวน 5,000 อัตรา และสายอำนวยการและสนับสนุน จำนวน 700 อัตรา
สายป้องกันปราบปราม นักเรียนนายสิบตำรวจ
สายอำนวยการและสนับสนุน (ตำรวจชั้นประทวน)
กำหนดการณ์ที่สำคัญ
วันที่ 4 -28 ก.ค.57 รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต(สมัครที่เวปไซต์นี้ http://www.policeadmission.org เท่านั้น )
วันที่ 5 ส.ค.57 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
วันที่ 10 ส.ค.57 สอบข้อเขียน
วันที่ 21 ส.ค.57 ประกาศผลสอบข้อเขียน
วันที่ 20 ต.ค.57 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก รอบสุดท้าย
วันที่ 1 พ.ย. 57 ฝึกอบรม สำหรับ นสต., รายงานตัวเข้ารับราชการ สำหรับ อก.
(กำหนดการณ์ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)
คุุณสมบัติเบื้องต้น สายป้องกันปราบปราม (ปป.)
– เพศชาย
– วุฒิการศึกษา ม.6 ปวช. หรือเทียบเท่า
– อายุ 18-27 ปีบริบูรณ์
– สูง 160 ซม. ขึ้นไป
คุุณสมบัติเบื้องต้น สายอำนวยการและสนับสนุน (อก.)
– เพศชาย หรือ เพศหญิง
– วุฒิการศึกษา ม.6 ปวช. หรือเทียบเท่า- อายุ 18-27 ปีบริบูรณ์
– อาย 18-35 ปีบริบูรณ์
– สูง ชาย 160 ซม. หญิงสูง 150 ซม. ขึ้นไป
สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสมัคร ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติของผู้เข้าสมัครสอบ หน่วยงานไหนบ้างที่จะประกาศรับสมัคร ศชต. จะเปิดรับสมัครพร้อมกับ นสต. ทั่วไป สายงานป้องกันปราบปราม จะรับสมัครผู้หญิงหรือไม่ อายุของสาย อก. จะรับอายุเท่าไร สายตาสั้นจะรับสมัครได้ไหม www.policebd51online.com , เพจ นายสิบตำรวจ 2556 จะแจ้งความเคลื่อนไหว ให้ทราบต่อไป
ข้อมูลจาก
www.policebd51online.com/police2014.html
วิชาที่คาดว่าจะใช้สอบเข้ารับราชการตำรวจ ปี 2557
ขอบเขตวิชาการทดสอบความรู้ความสามารถด้วยวิธีสอบข้อเขียน
การรับสมัครและสอบแข่งขันบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)
หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็น ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ทำหน้าที่ธุรการ) ในกลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน
๑. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 65 คะแนน) ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ
150 คะแนน ใช้เวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย
๑.๑ ความสามารถทั่วไป 40 ข้อ
ทดสอบความรู้ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความคิดเชิงจำนวน โดยใช้ข้อมูลหรือปัญหาทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสม การคิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วย การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อุปมาอุปไมยอนุกรมและมิติสัมพันธ์ ความสามารถในการคิดเชิงจำนวน ประกอบด้วย คณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ การคำนวณขั้นพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ การแก้สมการและอสมการ เซต ตรรกศาสตร์ และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ตาราง กราฟ การหาค่ากลาง และการวัด การกระจาย
๑.๒ ภาษาไทย จำนวน 25 ข้อ
ทดสอบความรู้ความสามารถการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา ได้แก่ ทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ การใช้ถ้อยคำ สำนวน การใช้คำให้ตรงกับความหมาย กฎเกณฑ์และความนิยม การจับใจความ วิเคราะห์ความ สรุปความ หรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือจากบทความ การพิจารณาเลือกใช้ภาษา ในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ
๒. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 85 คะแนน) ประกอบด้วย
๒.๑ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสำนักงาน จำนวน 25 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน เช่น ไมโครซอฟท์เวิร์ด
(Microsoft word) ไมโครซอฟท์เอ๊กเซล (Microsoft Excel)ไมโครซอฟท์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft Powerpoint) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ทักษะการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ Social Media และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
2.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณจำนวน 10 ข้อ
พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.3 ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน ๔๐ ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) ค าศัพท์ (Vocabulary)
โครงสร้างของประโยคต่างๆ (Structure) หลักไวยากรณ์ (Grammar) และการสนทนา (Conversation) เป็นต้น
๒.๔ สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม จำนวน ๑๐ ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม หลักศีลธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการด าเนินชีวิตในสังคมและการปฏิบัติงาน
เกณฑ์การตัดสิน
ผู้สอบผ่านข้อเขียน และมีสิทธิเข้าทดสอบในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง จะต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนแต่ละภาคที่สอบตามหลักสูตร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงหลักวิชาการวัดผลด้วย โดยเรียงลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงลงมาตามลำดับ ตามจำนวนที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนด ในกรณีมีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่สอบได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ผู้ที่ได้คะแนนภาษาไทยในภาคความรู้ความสามารถทั่วไปมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้ายังได้คะแนนเท่ากันอีกให้ผู้ที่สมัครก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
๓. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
สอบสัมภาษณ์ จะเป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ที่จะแต่งตั้งจากพฤติกรรมที่ปรากฏ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ความสามารถประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ ความคิดริเริ่ม ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกลักษณะอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยถือเป็นเกณฑ์การตัดสินว่า ผู้ที่คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์เห็นว่าเหมาะสมจึงจะถือว่า ผ่าน ผู้ที่คณะกรรมการ สอบสัมภาษณ์เห็นว่าไม่เหมาะสมจะถือว่า ไม่ผ่าน ผู้ที่ผ่านการทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่งตามที่กำหนด จะได้ 50 คะแนน ผู้ไม่ผ่าน จะได้ 0 คะแนน
—————————————————
ขอบเขตวิชาการทดสอบความรู้ความสามารถด้วยวิธีสอบข้อเขียน
การรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)
หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ
๑. ทดสอบความรู้ความสามารถ ด้วยวิธีสอบข้อเขียน ข้อสอบแบบปรนัย ๔ ตัวเลือก จำนวน 150ข้อ
150 คะแนน ใช้เวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย
๑.๑ ความสามารถทั่วไป จำนวน 40 ข้อ
ทดสอบความรู้ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความคิดเชิงจำนวน โดยใช้ข้อมูลหรือปัญหาทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสม การคิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วย การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อุปมาอุปไมยอนุกรมและมิติสัมพันธ์ ความสามารถในการคิดเชิงจำนวน ประกอบด้วย คณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่
การคำนวณขั้นพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ การเทียบบัญญัติไตรยางค์ การแก้สมการและอสมการ เซต
ตรรกศาสตร์ และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ตาราง กราฟ การหาค่ากลาง และการวัด การกระจาย
๑.๒ ภาษาไทย จำนวน 25 ข้อ
ทดสอบความรู้ความสามารถการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา ได้แก่ ทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ การใช้ถ้อยคำ สำนวน การใช้คำให้ตรงกับความหมาย กฎเกณฑ์และความนิยม การจับใจความ วิเคราะห์ความ สรุปความ หรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือจากบทความ การพิจารณาเลือกใช้ภาษา ในงานเขียนรูปแบบต่าง ๆ
๑.๓ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 40 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) ค าศัพท์ (Vocabulary)
โครงสร้างของประโยคต่างๆ (Structure) หลักไวยากรณ์ (Grammar) และการสนทนา (Conversation) เป็นต้น
๑.๔ ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 25 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทักษะการสื่อสารข้อมูลผ่าน
เครือข่ายต่าง ๆ
๑.๕ กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ จำนวน 10 ข้อ
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
๑.6 สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม จำนวน 10 ข้อ
ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม หลักศีลธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมและการปฏิบัติงาน
————————————–
ข้อมูลจากกองการสอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ http://rcm.edupol.org/
ภาพประกอบข่าวจาก http://jobs-army.com/
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ