การเลือกอาชีพที่เหมาะกับเรา เป็นเรื่องที่น้องๆ ทุกคนควรให้ความสำคัญ บางคนคิดว่าเรียนอะไรก็ได้ ขอแค่ให้จบมา
แล้วมีงานทำก็พอเพราะทุกวันนี้งานหายาก แต่ถ้าเราได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และได้ทำงานตามความถนัด งานนั้นๆ จะไม่สร้างแค่รายได้ แต่มันจะสร้างความสุขให้กับเราไปตลอดชีวิต!จริงๆ เราก็พูดเรื่องการเลือกอาชีพกันมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีน้องๆ อีกหลายคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ เลือกไม่ถูกว่าจะเอายังไงดี ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาดูแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกอาชีพในปัจจุบันกันดีกว่าค่ะอย่างแรกเราจะต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน โดยอาจจะดูจากความชอบหรือความถนัด เพราะคงไม่มี
ใครรู้จักตัวเราเองดีเท่ากับตัวเราอีกแล้วแต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือควรจะไปทางไหน ลองสังเกตบุคลิกภาพของเราตามทฤษฎีของ John L. Holland ก็ได้ค่ะ ซึ่งทฤษฎีนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพกับการเลือกอาชีพ เราจะได้รู้ว่าตัวเองเด่นด้านไหน เหมาะที่จะทำอาชีพอะไร
[ads=center]
จากนั้น เราก็ควรสำรวจภาวะการมีงานทำของอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกสาขาการเรียน ซึ่งผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่จบในระดับอาชีวศึกษาสาขาพาณิชยกรรมได้งานทำเฉลี่ยร้อยละ 50.84, ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 48.82, ศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 36.39, คหกรรม ร้อยละ 29.37 และเกษตรกรรม ร้อยละ 25.91 ส่วนในระดับอุดมศึกษา ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาชี้ให้เห็นว่า สาขาที่จบมาแล้วมีงานทำคือสาขาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือวิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาด้านมนุษยศาสตร์ สื่อสารมวลชน และศิลปะอาจจะต้องมีความสามารถที่โดดเด่นจึงจะหางานได้ง่ายค่ะ
ที่สำคัญ อย่าลืมติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ยกตัวอย่างเช่น การเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยมีความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ )Logistics) ก็มีแนวโน้มเติบโตสูงขี้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้ที่หาข้อมูลในส่วนนี้มาก่อน และเลือกเรียนด้านช่าง ภาษา คอมพิวเตอร์ และการขนส่งก็อาจจะได้เปรียบผู้อื่น ยิ่งถ้ามีทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนองาน การประสานงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยแล้ว รับรองไปรุ่งแน่นอนค่ะ!
………………………………………..
ข้อมูล: วารสารข่าวตลาดแรงงาน
ภาพ :http://www.goodthaisim.com/และhttp://ratnaree.wordpress.com/
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ